ผู้บริหารและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมพิธีเปิดงาน HACKaTHAILAND

ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ กิจทวร รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.รังสันต์ จอมทะรักษ์ และ ผศ.ดร.จิราภรณ์ พงษ์โสภา ได้เข้าร่วมพิธีเปิดงาน HACKaTHAILAND ในวันจันทร์ที่ 4 เมษายน 2565 ณ HackaThailand Venue @True Digital Park กรุงเทพฯ โดย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงานอย่างเป็นทางการ พร้อมกันนี้ ในพิธีเปิดโครงการ HACKaTHAILAND ยังมีการมอบรางวัล Prime Minister’s Digital Awards 2021 ใน 5 สาขา อีกด้วย ติดตามรายละเอียดกิจกรรมอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่: https://www.facebook.com/HACKaTHAILAND HACKaTHAILAND #DigitalPossibilities #depaThailand #HUAWEI #HACKaTHAILANDVenue #TRUEDIGITALPARK #DigitalThailand

การเดินทางของกล้วยเล็บมือนาง (พันธุ์ชุมพร)

การเดินทางของกล้วยเล็บมือนาง (พันธุ์ชุมพร) ของพวกเราชาวคณะวิทย์ฯ จากจังหวัดชุมพร จนมาอยู่ในบริเวณพื้นที่ 10 ไร่ หลังโรงสีข้าวสวนดุสิต จังหวัดปราจีนบุรี และพื้นที่ศูนย์การศึกษานครนายก การปลูกและการดูแลรักษา รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต

การสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ Digital Baht สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ หรือ CBDC

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยหลักสูตรวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ จัดการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ Digital Baht สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ หรือ CBDC ในวันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 – 11.30 น. (ออนไลน์ผ่าน Zoom) วิทยากร คุณชลเดช เขมะรัตนา (นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท โรโบเวลธ์กรุ๊ป จำกัด) โดยมี ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงาน และกล่าวเปิดการสัมมนา โดย ดร.สวงค์บุญปลูก รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ฝ่ายความร่วมมือภายนอก (MOU) จัดการประชุมออนไลน์กับโรงเรียนเครือข่ายภายใต้บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การดำเนินงานของฝ่ายความร่วมมือภายนอก (MOU) จัดการประชุมออนไลน์กับโรงเรียนเครือข่ายภายใต้บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) ได้แก่ โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต โรงเรียนสิริรัตนาธร โรงเรียนไทรน้อย และ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ร่วมด้วย ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ผศ.ดร.ว่าที่ร้อยตรีมงคลชัย บุญแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก เป็นประธานการประชุม เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงการรับนักสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีการศึกษา 2565 และแนวทางการรับนักศึกษาโควต้าจากโรงเรียนเครือข่ายภายใต้บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) ในวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.00 – 15.00 น.

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับ การปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 เลี่ยงภาวะซึมเศร้า

?ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับ การปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 เลี่ยงภาวะซึมเศร้า ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00-16.00 น. (อบรมออนไลน์ระบบ Zoom) พร้อมมอบวุฒิบัตรสำหรับผู้เข้าอบรม? ?ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤศจิกายน 2564 ค่าลงทะเบียน 100 บาท? ?วิทยากรศ.ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม(ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาคลินิกและการให้คำปรึกษาการฟื้นฟูจิตใจ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสุขุมวิท) และผศ.ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ผศ.ดร.สิรวัลย์ เรืองช่วย ตู้ประกายผศ.ดร.จิราภรณ์ พงษ์โสภาผศ.ดร.ปารินดา สุขสบายผศ.ดร.แทนทัศน์ เพียกขุนทด(คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สวนดุสิต ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทครีมเมอรี่พลัส จำกัด

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทครีมเมอรี่พลัส จำกัดโดย ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับคุณเศรษฐลัทธ์ หลิ่มโตประเสริฐ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด โดยมีพยานจาก 2 หน่วยงานร่วมลงนาม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่ ผศ.ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.ดร.ทัศนีย์ พาณิย์กุล ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด ได้แก่ คุณจิรพรรณ รุ่งสุข ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ และคุณภูมิพัฒน์ วิเศษร์กาญจน์ ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์องค์กร โดยความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการร่วมกันในด้านการเรียนการสอน และรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเข้าฝึกงานในบริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะทางการทำงานด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต รวมถึงให้การสนับสนุนการเรียนการสอน โดย บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง และให้ความร่วมมืองานด้านวิชาการและการบริการวิชาการแก่สังคมในการดำเนินโครงการต่าง ๆ และให้การสนับสนุนงานวิจัยร่วมกัน ทั้งนี้มีอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และผู้บริหารจากบริษัท ครีมเมอรี่พลัส

Translate »