กิจกรรมการทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของชุมชน ตามโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาไทยสู่การต่อยอดเชิงธุรกิจ (ระยะที่ 2)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดกิจกรรมการทดสอบผลิตภัณฑ์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงตามความต้องการของชุมชน ตามโครงการการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมจากภูมิปัญญาไทยสู่การต่อยอดเชิงธุรกิจ (ระยะที่ 2) ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดําริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) ในวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม 2565 ระหว่างเวลา 7.30 – 12.00 น. ณ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรน้ำลูกยอเพื่อสุขภาพ บ้านดอนทะเล ตำบลพิหารแดง อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อสร้างรายได้ตามพื้นฐานเศรษฐกิจพอเพียงและการต่อยอดเชิงธุรกิจ และแสดงศักยภาพของมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ประจักษ์แก่บุคคลภายนอก รวมทั้งเป็นการสร้างแนวทางความเป็นเลิศทางวิชาการและการบริการอีกด้วย

กิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกกล้วยเล็บมือนางและการแปรรูปผลิตภัณฑ์เชิงชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโยีและศูนย์การศึกษานครนายก ร่วมกิจกรรมการถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้โครงการส่งเสริมการปลูกกล้วยเล็บมือนางและการแปรรูปผลิตภัณฑ์เชิงชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ในวันอาทิตย์ ที่ 6 สิงหาคม 2565 ณ พื้นที่ 10 ไร่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จังหวัดปราจีนบุรี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีฝ่ายบริหาร กล่าวเปิดงาน โดยมีกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการแปรรูปผลผลิตจากกล้วยเล็บมือนาง พันธุ์ชุมพรที่ได้ดำเนินการปลูกในพื้นที่ 10 ไร่ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จังหวัดปราจีนบุรี โดยมีการสาธิตการแปรรูป 1) ไอศกรีมจากกล้วยเล็บมือนาง 2) แครกเกอร์กล้วยเล็บมือนาง และ 3) กล้วยเล็บมือนางอบ โดยมีตัวแทนชุมชนและชาวบ้านชุมชนบ้านขอนขว้าง ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมเป็นจำนวนมาก

คณะวิทยาศาสตร์ขอแสดงความยินดีกับคณาจารย์ทุกท่าน ที่ได้รับรางวัล การจัดอันดับ Google Scholar Profiles และรางวัลนักวิจัยดีเด่น รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ปี พ.ศ. 2565

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นตัวแทนของคณะฯ เข้ารับโล่ห์รางวัล Google Scholar ยอดเยี่ยม ระดับคณะ สาขาวิทยาศาสตร์ และคณาจารย์ที่ได้รับรางวัลการจัดอันดับ Google Scholar Profiles ระดับบุคคล สาขาวิทยาศาสตร์ ได้แก่ ศาสตราจารย์ธานินทร์ สิทธิวิรัชธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปารินดา สุขสบาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชาดา โทผล รองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ พาณิชย์กุล และคณาจารย์ที่ได้รับรางวัลนักวิจัยดีเด่นและรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พ.ศ.2565 รางวัลนักวิจัยดีเด่น สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศาสตราจารย์ธานินทร์ สิทธิวิรัชธรรม รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี สวนเพลง รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ด้านการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ดร.วีรชน ภูหินกอง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ด้านการใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี สวนเพลง รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ด้านการใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ รองศาสตราจารย์

คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ฯ และคณาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยของประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณาจารย์หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำโดย รศ.ดร.พรรณี สวนเพลงเข้าร่วมประชุมเพื่อหาแนวทางความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยของประเทศอินโดนีเซีย และประเทศไทย ผ่านระบบ Zoom โดยในการประชุมครั้งนี้มีตัวจากมหาวิทยาลัยดังนี้ Sekolah Tinggi Ilmu Administrasi Abdul Haris [Indonesia] Kasetsart University [Thailand] Valaya Alongkorn Rajabhat University [Thailand] Suan Dusit University [Thailand] Universitas Muhammadiyah Makassar [Indonesia] Thammasat University [Thailand]

คณะวิทย์ฯ เปิดบ้านรับโรงเรียนสวนกุหลาบฯ นนทบุรี อบรมเชิงปฏิบัติการ Science in Action

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Science in Action วันที่ 25 กรกฎาคม 2565 เวลา 8.30 – 16.30 น. ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ฯ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีเปิด ผู้เข้าร่วมอบรม คือ ครูและนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 – 6 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี จำนวน 110 คน กิจกรรมฐานปฏิบัติการประกอบด้วย ฐานเคมี : การวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนเชิงปริมาณ, ฐานชีววิทยา : การเพิ่มปริมาณ DNA ด้วยเทคนิค Polymerase Chain Reaction (PCR), ฐานฟิสิกส์ : การวิเคราะห์ค่าแม่เหล็กไฟฟ้าและปริมาณทางฟิสิกส์ โดยใช้ Smartphone Sensor

ศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย

ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินงานเป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา และนักเรียน ด้านการศึกษาวิจัย และการให้บริการตรวจวัด และวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม อนามัยสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ซึ่งกรมสวัสดิการฯได้พิจารณาและอนุญาตให้ มหาวิทยาลัย สวนดุสิต เป็นหน่วยงานนิติบุคคลให้บริการด้านความปลอดภัยด้านดังกล่าว ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกแห่งเดียวที่ได้รับใบอนุญาต “การได้รับอนุญาตในครั้งนี้เนื่องจากเรามีความพร้อมทุกด้าน ได้แก่บุคลากรของศูนย์สิ่งแวดล้อมฯ มีคุณวุฒิการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม และสาขาอาชีวอนามัย และ ความปลอดภัยที่สามารถดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์ได้ตามที่กฎกระทรวงกำหนด สำหรับด้านเครื่องมือ เนื่องจากศูนย์สิ่งแวดล้อมฯได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการISO/IEC 17025 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบเครื่องแก้ว วัดปริมาตร ส่วนในด้านสถานที่นั้นห้องปฏิบัติการของศูนย์ ได้มีการควบคุมคุณภาพด้านสถานที่และสภาวะแวดล้อมในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 และมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองใน“โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย”ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ”ดร.พรธิดากล่าว ข้อมูลและภาพจากเว็บไซต์ https://www.naewna.com/local/653819

การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 มหาวิทยาลัย

การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 มหาวิทยาลัยวันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น.วิทยากรโดย ผศ.ดร.ประวรดา โภชนจันทร์

โครงการส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะและคุณภาพชีวิตนักศึกษาภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (New Normal)

โครงการส่งเสริมพัฒนาสมรรถนะและคุณภาพชีวิตนักศึกษาภายใต้วิถีชีวิตใหม่ (New Normal)การอบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการป้องกันตนเองในยุค COVID-19วันพุธที่ 9 มีนาคม 2565 เวลา 9.45 – 12.00 น. รูปแบบออนไลน์ทาง Zoom Meetingวิทยากร ผศ.ดร.ชฎามาศ ขาวสะอาด และอาจารย์สุวิทย์ นำภาว์

กิจกรรมกีฬาสี Science SDU Sport Day 2022

มาเเล้ววครับบบบบ!!! กิจกรรมกีฬาสี Science SDU Sport Day 2022 ขอเชิญคณาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมสมัครแข่งขัน E-Sport ประเภท Valorent และ ROV สมัครได้เเล้ววันนี้ถึงวันที่ 20 เมษายน 2565 ที่ลิงค์https://forms.gle/Kq6oNd6BjoRYJTSh6สมัครแล้วมาเจอกันที่ Lineกลุ่มผู้สมัคร นะครับhttps://line.me/R/ti/g/tiBSpNO1tPมาร่วมสนุกกันเยอะๆนะครับบบบสอบถามรายละเอียดได้ที่ Inbox Page คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มสด. ที่ https://www.facebook.com/FacultySCITECH.SDU

พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ระหว่างหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ กับ บริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์ จำกัด

ผศ.ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และคุณณัฐพล ลีลาวัฒนานันท์ กรรมการผู้จัดการบริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์ จำกัด ได้ลงนามในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และบริษัท เอ็กเซลเลนท์ บิสเนส แมเนจเม้นท์ จำกัด ในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 2565 เวลา 10.00 – 11.00 น. ออนไลน์ผ่านโปรแกรม Zoom โดยในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการฯ นั้น ทั้งสองฝ่ายตกลงให้ความร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการร่วมกันในด้านการเรียนการสอนและให้ความร่วมมืองานวิชาการหรืองานบริการวิชาการแก่สังคมในการดำเนินการโครงการต่าง ๆ

Translate »