หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดรับสมัครนักศึกษา รอบที่ 1 Portfolio

มาแล้วตามคำเรียกร้อง ?รับรองจาก ก.ค.ศ. จบแล้วสามารถ รับราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาได้** แต่ต้องไปเรียนต่อใบประกอบวิชาชีพครูกันด้วยจ๊ะ?หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยสวนดุสิต TCAS65?รับสมัครนักศึกษาปีการศึกษา 2565 รอบที่ 1 Portpolio จำนวน 20 คน?ตั้งแต่ วันนี้เป็นต้นไป – 25 มกราคม 2565คลิกสมัครได้ที่ mytcas.com สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม☎️ 084 205 5511 , 02 244 5691? http://comsci.sci.dusit.ac.th/ วิทยาการคอมพิวเตอร์ #วิทย์คอม #comsci #cs #คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี #คณะวิทยาศาสตร์ #suandusituniversity #มหาวิทยาลัยสวนดุสิต #sdu #มสด #สวนดุสิต #suandusit #suandusituniversity #Direct #Admission #portfolio #directadmission #รอบ1 #รอบที่1#รับตรงอิสระ #newnormal #รับทุกแผนการเรียน รับสมัครนักศึกษา #สมัครเรียน #ประชาสัมพันธ์ #เด็ก65

การเดินทางของกล้วยเล็บมือนาง (พันธุ์ชุมพร)

การเดินทางของกล้วยเล็บมือนาง (พันธุ์ชุมพร) ของพวกเราชาวคณะวิทย์ฯ จากจังหวัดชุมพร จนมาอยู่ในบริเวณพื้นที่ 10 ไร่ หลังโรงสีข้าวสวนดุสิต จังหวัดปราจีนบุรี และพื้นที่ศูนย์การศึกษานครนายก การปลูกและการดูแลรักษา รวมถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิต

การสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ Digital Baht สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ หรือ CBDC

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยหลักสูตรวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ จัดการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ Digital Baht สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ หรือ CBDC ในวันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 – 11.30 น. (ออนไลน์ผ่าน Zoom) วิทยากร คุณชลเดช เขมะรัตนา (นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย และประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม บริษัท โรโบเวลธ์กรุ๊ป จำกัด) โดยมี ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงาน และกล่าวเปิดการสัมมนา โดย ดร.สวงค์บุญปลูก รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ฝ่ายความร่วมมือภายนอก (MOU) จัดการประชุมออนไลน์กับโรงเรียนเครือข่ายภายใต้บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การดำเนินงานของฝ่ายความร่วมมือภายนอก (MOU) จัดการประชุมออนไลน์กับโรงเรียนเครือข่ายภายใต้บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) ได้แก่ โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต โรงเรียนสิริรัตนาธร โรงเรียนไทรน้อย และ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ร่วมด้วย ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ผศ.ดร.ว่าที่ร้อยตรีมงคลชัย บุญแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก เป็นประธานการประชุม เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงการรับนักสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีการศึกษา 2565 และแนวทางการรับนักศึกษาโควต้าจากโรงเรียนเครือข่ายภายใต้บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) ในวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.00 – 15.00 น.

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับ การปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 เลี่ยงภาวะซึมเศร้า

?ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับ การปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 เลี่ยงภาวะซึมเศร้า ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00-16.00 น. (อบรมออนไลน์ระบบ Zoom) พร้อมมอบวุฒิบัตรสำหรับผู้เข้าอบรม? ?ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤศจิกายน 2564 ค่าลงทะเบียน 100 บาท? ?วิทยากรศ.ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม(ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาคลินิกและการให้คำปรึกษาการฟื้นฟูจิตใจ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสุขุมวิท) และผศ.ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ผศ.ดร.สิรวัลย์ เรืองช่วย ตู้ประกายผศ.ดร.จิราภรณ์ พงษ์โสภาผศ.ดร.ปารินดา สุขสบายผศ.ดร.แทนทัศน์ เพียกขุนทด(คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สวนดุสิต ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทครีมเมอรี่พลัส จำกัด

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทครีมเมอรี่พลัส จำกัดโดย ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับคุณเศรษฐลัทธ์ หลิ่มโตประเสริฐ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด โดยมีพยานจาก 2 หน่วยงานร่วมลงนาม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่ ผศ.ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.ดร.ทัศนีย์ พาณิย์กุล ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด ได้แก่ คุณจิรพรรณ รุ่งสุข ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ และคุณภูมิพัฒน์ วิเศษร์กาญจน์ ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์องค์กร โดยความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการร่วมกันในด้านการเรียนการสอน และรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเข้าฝึกงานในบริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะทางการทำงานด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต รวมถึงให้การสนับสนุนการเรียนการสอน โดย บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง และให้ความร่วมมืองานด้านวิชาการและการบริการวิชาการแก่สังคมในการดำเนินโครงการต่าง ๆ และให้การสนับสนุนงานวิจัยร่วมกัน ทั้งนี้มีอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และผู้บริหารจากบริษัท ครีมเมอรี่พลัส

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ และคณะ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ และคณะ สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อ ถุงมือกันไฟฟ้าจากยางธรรมชาติที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนอะลูมินา เลขที่อนุสิทธิบัตร 18386 จุดเด่นของการประดิษฐ์ถุงมือกันไฟฟ้าผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ และมีการเติมอนุภาคนาโนอะลูมินา (Nano -Alumina) มีคุณสมบัติการเป็นฉนวนไฟฟ้า ทนแรงดันไฟฟ้ามากขึ้น มีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถต้านแรงดึงและยืดหยุ่น ไม่ขาดง่าย มีขนาดและความหนาที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ถุงมือกันไฟฟ้าจากธรรมชาติช่วยส่งเสริมการใช้ยางพาราของไทย ช่วยลดต้นทุนการผลิตถุงมือกันไฟฟ้าเมื่อเทียบกับการใช้ยางสังเคราะห์

การอบรม “มาตรฐานห้องปฏิบัติการ ESPReL Checklist” โดย ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจทั้งภายในและภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ ESPReL ห้องปฏิบัติการ เข้าร่วมอบรม “มาตรฐานห้องปฏิบัติการ ESPReL Checklist” วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 8.30-16.30 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams ลงทะเบียน โดยสแกน QR code ผู้ที่ผ่านเงื่อนไขการอบรมจะได้รับเกียรติบัตร จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวณัฐภัชศร แก้ววิจิตร โทร. 02-244-5635

Translate »