เชิญรับฟังการบรรยายหัวข้อ Digital Baht สกุลเงินดิจิทัล

เชิญผู้สนใจรับฟังการบรรยายหัวข้อ “Digital Baht สกุลเงินดิจิทัล แห่งชาติ หรือ CBDC” โดย คุณชลเดช เขมะรัตนา นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย หลักสูตรวิทยาการข้อมูลและการวิเคราะห์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอเชิญผู้สนใจร่วมฟังการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ Digital Baht สกุลเงินดิจิทัลแห่งชาติ หรือ CBDCในวันพุธที่ 15 ธันวาคม 2564 เวลา 10.00 – 11.30 น. (ออนไลน์ผ่าน Zoom)โดย คุณชลเดช เขมะรัตนา (นายกสมาคมฟินเทคประเทศไทย)ท่านใดสนใจ สามารถลงทะเบียนได้ตามลิงก์นี้ครับhttps://forms.office.com/Pages/ResponsePage.aspx?id=YDP_eFqDdkKUY5SVuVs3tjLDVsT7DUxFoaHAcSJPJCxUMzRPTFlNVzVOT0c3WEszMUhORDBMMFMzVy4u&qrcode=true ลิ้งค์เข้าร่วมผ่าน Zoom MeetingJoin Zoom Meetinghttps://zoom.us/j/92998558233?pwd=WnhVblgrb1lmbU5iWkorbnhNeTJFQT09 Meeting ID: 929 9855 8233Passcode: 464855

ฝ่ายความร่วมมือภายนอก (MOU) จัดการประชุมออนไลน์กับโรงเรียนเครือข่ายภายใต้บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้การดำเนินงานของฝ่ายความร่วมมือภายนอก (MOU) จัดการประชุมออนไลน์กับโรงเรียนเครือข่ายภายใต้บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) ได้แก่ โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต โรงเรียนสิริรัตนาธร โรงเรียนไทรน้อย และ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 ร่วมด้วย ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ ผศ.ดร.ว่าที่ร้อยตรีมงคลชัย บุญแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก เป็นประธานการประชุม เพื่อประชาสัมพันธ์และชี้แจงการรับนักสมัครนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีการศึกษา 2565 และแนวทางการรับนักศึกษาโควต้าจากโรงเรียนเครือข่ายภายใต้บันทึกข้อตกลงทางวิชาการ (MOU) ในวันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2564 เวลา 14.00 – 15.00 น.

ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับ การปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 เลี่ยงภาวะซึมเศร้า

?ขอเชิญเข้าร่วมโครงการอบรมหลักสูตร กลยุทธ์การเตรียมความพร้อมบุคลากรเพื่อรองรับ การปรับตัวในสถานการณ์โควิด-19 เลี่ยงภาวะซึมเศร้า ในวันที่ 28 พฤศจิกายน 2564 เวลา 13.00-16.00 น. (อบรมออนไลน์ระบบ Zoom) พร้อมมอบวุฒิบัตรสำหรับผู้เข้าอบรม? ?ลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันนี้ – 25 พฤศจิกายน 2564 ค่าลงทะเบียน 100 บาท? ?วิทยากรศ.ดร.วัลลภ ปิยะมโนธรรม(ผู้เชี่ยวชาญทางด้านจิตวิทยาคลินิกและการให้คำปรึกษาการฟื้นฟูจิตใจ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลสุขุมวิท) และผศ.ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ผศ.ดร.สิรวัลย์ เรืองช่วย ตู้ประกายผศ.ดร.จิราภรณ์ พงษ์โสภาผศ.ดร.ปารินดา สุขสบายผศ.ดร.แทนทัศน์ เพียกขุนทด(คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต)

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.สวนดุสิต ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทครีมเมอรี่พลัส จำกัด

หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการกับบริษัทครีมเมอรี่พลัส จำกัดโดย ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ กับคุณเศรษฐลัทธ์ หลิ่มโตประเสริฐ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด โดยมีพยานจาก 2 หน่วยงานร่วมลงนาม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้แก่ ผศ.ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.ดร.ทัศนีย์ พาณิย์กุล ประธานกรรมการบริหารหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด ได้แก่ คุณจิรพรรณ รุ่งสุข ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการพาณิชย์ และคุณภูมิพัฒน์ วิเศษร์กาญจน์ ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจและกลยุทธ์องค์กร โดยความร่วมมือในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิชาการร่วมกันในด้านการเรียนการสอน และรับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางเข้าฝึกงานในบริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและทักษะทางการทำงานด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางของนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต รวมถึงให้การสนับสนุนการเรียนการสอน โดย บริษัท ครีมเมอรี่พลัส จำกัด สนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง และให้ความร่วมมืองานด้านวิชาการและการบริการวิชาการแก่สังคมในการดำเนินโครงการต่าง ๆ และให้การสนับสนุนงานวิจัยร่วมกัน ทั้งนี้มีอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และผู้บริหารจากบริษัท ครีมเมอรี่พลัส

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ และคณะ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ และคณะ สำนักงานคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อ ถุงมือกันไฟฟ้าจากยางธรรมชาติที่มีส่วนประกอบของอนุภาคนาโนอะลูมินา เลขที่อนุสิทธิบัตร 18386 จุดเด่นของการประดิษฐ์ถุงมือกันไฟฟ้าผลิตจากน้ำยางธรรมชาติ และมีการเติมอนุภาคนาโนอะลูมินา (Nano -Alumina) มีคุณสมบัติการเป็นฉนวนไฟฟ้า ทนแรงดันไฟฟ้ามากขึ้น มีความแข็งแรงมากขึ้น สามารถต้านแรงดึงและยืดหยุ่น ไม่ขาดง่าย มีขนาดและความหนาที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ถุงมือกันไฟฟ้าจากธรรมชาติช่วยส่งเสริมการใช้ยางพาราของไทย ช่วยลดต้นทุนการผลิตถุงมือกันไฟฟ้าเมื่อเทียบกับการใช้ยางสังเคราะห์

การอบรม “มาตรฐานห้องปฏิบัติการ ESPReL Checklist” โดย ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์

ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ขอเชิญผู้สนใจทั้งภายในและภายนอก ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจ ESPReL ห้องปฏิบัติการ เข้าร่วมอบรม “มาตรฐานห้องปฏิบัติการ ESPReL Checklist” วิทยากรโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ ในวันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 เวลา 8.30-16.30 น. ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams ลงทะเบียน โดยสแกน QR code ผู้ที่ผ่านเงื่อนไขการอบรมจะได้รับเกียรติบัตร จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นางสาวณัฐภัชศร แก้ววิจิตร โทร. 02-244-5635

ขอเรียนเชิญร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หัวข้อ “การทำปุ๋ยน้ำและปุ๋ยจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ 10 ไร่ จังหวัดปราจีนบุรี” ทาง MS Teams

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สำนักกิจการพิเศษ บริษัท โรงสีข้าว สวนดุสิต จำกัด และศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก ขอเรียนเชิญท่านที่สนใจ เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ “การทำปุ๋ยน้ำและปุ๋ยจากเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในพื้นที่ 10 ไร่ จังหวัดปราจีนบุรี” ในโครงการบริหารจัดการพื้นที่เกษตร 10 ไร่ ด้านหลังโรงสีข้าวสวนดุสิต จังหวัดปราจีนบุรี และศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งนครนายก ในรูปแบบออนไลน์ผ่านโปรแกรม Microsoft Teams ในวันอังคารที่ 19 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 – 16.30 น. โดยมีวิทยากร 2 ท่าน คือ 1. ผศ.ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ อาจารย์กลุ่มวิชาชีววิทยาประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต 2. คุณปราณี ภุมรินทร์ นักปราชญ์ชุมชน, ประธานวิสาหกิจชุมชนกลุ่มสตรีเพื่อการแปรรูป ตำบลวังไผ่ อำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (กล้วยตราภุมรินทร์ ชุมพร) ผู้ดำเนินรายการโดย 1. ผศ.วัชรากรณ์

ประกาศผลการพิจารณาทุนการศึกษา “ทุนเพื่อช่วยเหลือนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2564”

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต มีการจัดสรรทุนการศึกษาให้กับนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประจำทุกปี ซึ่งประกอบด้วยทุน 4 ประเภท ได้แก่ 1. ทุนขาดแคลนทุนทรัพย์ 2. ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 3. ทุนเรียนดี 4. ทุนจิตอาสา/ทำคุณประโยชน์/สร้างชื่อเสียงให้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างขวัญกำลังใจให้นักศึกษาในการมุ่งมั่นศึกษา และเป็นบุคลากรที่มีคุณภาพของสังคมและประเทศชาติต่อไป ทั้งนี้ในปีการศึกษา 2564  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอประกาศรายชื่อนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา ดังนี้

ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับการจัดลำดับ นักวิจัยที่มีศักยภาพระดับประเทศ และระดับโลก

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรที่ได้รับการจัดลำดับ นักวิจัยที่มีศักยภาพระดับประเทศ และระดับโลก จาก AD Scientific Index 2021 : World Scientist and University Ranking 2021  

Translate »