คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2024 ครั้งที่ 6 “นวัตกรรม BCG เพื่อการศึกษา”

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2024 ครั้งที่ 6 “นวัตกรรม BCG เพื่อการศึกษา” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ถนอม อินทรกำเนิด นายกสภามหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดย ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวต้อนรับ และมอบนโยบายการจัดการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.ดร.ธณัฏฐ์คุณ มงคลอัศวรัตน์ นายกสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และ ดร.เทพชัย ทรัพย์นิธิ อุปนายกสมาคมปัญญาประดิษฐ์ประเทศไทย ร่วมกล่าวแสดงเจตนารมณ์ในการเป็นเจ้าภาพร่วมในการประชุม และ ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วย ผศ.ดร.วีณัฐ สกุลหอม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดประชุม จากนั้น ดร.ถนอม อินทรกำเนิด นายกสภามหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วยนายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติสวนดุสิต 2024 ครั้งที่ 6 “นวัตกรรม BCG

ภาพบรรยากาศการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอล (รอบคัดเลือก)Science in Wonderland Games 2024 “

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ภาพบรรยากาศการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอล (รอบคัดเลือก) ในกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี “Science in Wonderland Games 2024 ” เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าของ คณะวิทยาศาสตร์ฯ กิจกรรมเป็นไปด้วยความสนุกสนาน ณ อาคารพละศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 ภาพบรรยากาศการแข่งขันกีฬา บาสเกตบอล (รอบคัดเลือก) ในกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์ Science in Wonderland Games 2024 Science in Wonderland Games 2024 Science in Wonderland Games 2024

ความร่วมมือในด้านปัญญาประดิษฐ์ ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์โนโลยีมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรเข้าร่วมหารือ เพื่อทำความร่วมมือในด้านปัญญาประดิษฐ์ ระหว่างคณะวิทยาศาสตร์โนโลยีมหาวิทยาลัยสวนดุสิตและ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล โดยมี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลผู้อำนวยการใหญ่และ ดร.ปรีสาร รักวาทิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการประยุกต์ใช้ดิจิทัล สำนักงานส่ง เสริมเศรษฐกิจดิจิทัลและคณะ ให้การต้อนรับและพูดคุยการขับเคลื่อนดำเนินงาน โครงการในความร่วมมือถัดไป ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลผู้อำนวยการใหญ่

พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กับ บริษัท แปซิฟิค รับเบอร์เวิร์คส์ จำกัด

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ดร. ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และคุณกฤตษกร จำปาทอง ตัวแทนจากบริษัท แปซิฟิค รับเบอร์เวิร์คส์ จำกัด เป็นผู้ลงนาม โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุดมศักดิ์ กิจทวี รองคณบดีคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ สินวรณ์ ประธานหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย และคณาจารย์หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ร่วมเป็นสักขีพยาน ซึ่งกรอบแนวทางของความร่วมมือเพื่อให้เกิดหลักสูตรสหกิจศึกษาและพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน ณ วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ดร. ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และคุณกฤตษกร จำปาทอง ตัวแทนจากบริษัท แปซิฟิค รับเบอร์เวิร์คส์ จำกัด ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ กิจทวี รองคณบดีคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรชาติ สินวรณ์ ประธานหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย        

การแข่งขันกี่ฬาสานสัมพันธ์ คณะวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ภาพบรรยากาศการแข่งขันกีฬาแชร์บอล รอบคัดเลือก ในกิจกรรมกีฬาสานสัมพันธ์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ” Science in Wonderland Games 2024 ” เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์ ศิษย์ปัจจุบันและศิษย์เก่าของคณะวิทยาศาสตร์ฯ กิจกรรมเป็นไปด้วยความสนุกสนานวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2567 ณ อาคารพละศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ข่าว:นายอนุชิต สวัสดิ์ตาล ภาพ:นางสาว รัตนาพร ศรีมาตย์

พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)ระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและ โรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล”

พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)ระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและ โรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล”วันพุธที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.ณ ห้องประชุมลำพอง ๓ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดี๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีฝ่ายบริหาร โรงเรียนโรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล”๑. นายอภิรักษ์ กงทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล”๒. นางสาวทารินทร์ นาคสร้อย รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ การเปลี่ยนฟางข้าว (ของเหลือทิ้งในนาข้าว) เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในลักษณะปุ๋ยหมักโดย ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย บทคัดย่อ การเผาฟางข้าวเป็นวิธีการจัดการฟางข้าวที่เกษตรผู้ทานาส่วนใหญ่ของประเทศไทยนิยมใช้จัดการฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว ต้นทุนต่า และประกอบกับความเชื่อบางประการเรื่องการฆ่าเชื้อโรคในดิน แต่การจัดการฟางข้าวด้วยวิธีการดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ และมลพิษทางดิน ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทั้งในระดับพื้นที่ และระดับโลก การผลักดันให้จัดการฟางข้าวโดยการเปลี่ยนฟางข้าวเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในลักษณะของปุ๋ยหมัก จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวแล้วได้ จากสมบัติของฟางข้าวสามารถนามาหมักเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปุ๋ยหมัก ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ขนาดของวัสดุ ขนาดของความสูงของกองหมัก อุณหภูมิ ความชื้นปริมาณอากาศหรือออกซิเจน ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องในกองปุ๋ย ระยะเวลาที่ต้องการสาหรับกระบวนการหมัก และสารเร่งชนิดอื่น ๆ ดาวน์โหลด (Download)   บทความวิชาการ เรื่องขยะชุมชน: การจัดการและผลกระทบโดยปารินดา สุขสบาย และ สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย บทคัดย่อ ปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย (Municipal solid waste) นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานเนื่องจากมีปริมาณการผลิตขยะที่เพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2561 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น

ข้อมูลทุนการศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ข้อมูลทุนการศึกษา ทุน กยศ. ทุน กรอ. ทุนการศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (เฉพาะปี) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเภทที่ 1 ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษาผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ – เป็นนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 2-5 – ต้องไม่ได้รับทุนอื่นภายในปีการศึกษาเดียวกัน ยกเว้นทุนกู้ยืม -. รายได้ของครอบครัวรวมกันต้องไม่เกิน 200,000 บาท/ปี   ประเภทที่ 2 ทุนเรียนดี – เกรดเฉลี่ยสะสม 2.70 ขึ้นไป – เป็นนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 2-4   ประเภทที่ 3 ทุนจิตอาสา/ ทำคุณประโยชน์/ สร้างชื่อเสียงให้คณะวิทยาศาสตร์ฯ – เป็นนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 2-4   มูลนิธิอื้อจือเหลียง – ต้องเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ถึง 4  คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี –

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ (วท.บ.)

เปิดรับสมัครนักศึกษา 2 รอบ จำนวน 80 ที่นั่ง SDU TCAS 63 รอบที่ 3 รับตรงร่วมกัน (Admission1) 17 – 27 เม.ย 2563 จำนวน 40 ที่นั่ง รอบที่ 4 รับกลางร่วมกัน (Admission2) 7 – 20 พ.ค. 2563 จำนวน 40 ที่นั่ง ??มาร่วมเป็นครอบครัวเดียวกับเรา “หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต”??? สนใจติดต่อสอบถามข้อมูลได้ที่ 02 244 5691 หรือ 084-2055511 เว็บไชต์ :: http://comsci.sci.dusit.ac.th facebook: https://www.facebook.com/ComputerScience.SDU สำหรับ #TCAS63 #รอบที่3 #รอบที่4#รับตรงร่วมกัน #วิทย์คอม #สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ #มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

Translate »