ศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับใบอนุญาตจากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในการให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย

ดร.พรธิดา เทพประสิทธิ์ ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวว่า ศูนย์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินงานเป็นศูนย์ฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษา และนักเรียน ด้านการศึกษาวิจัย และการให้บริการตรวจวัด และวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้านสิ่งแวดล้อม อนามัยสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน จึงได้ดำเนินการขึ้นทะเบียนและการอนุญาตให้บริการเพื่อส่งเสริมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ซึ่งกรมสวัสดิการฯได้พิจารณาและอนุญาตให้ มหาวิทยาลัย สวนดุสิต เป็นหน่วยงานนิติบุคคลให้บริการด้านความปลอดภัยด้านดังกล่าว ถือเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกแห่งเดียวที่ได้รับใบอนุญาต “การได้รับอนุญาตในครั้งนี้เนื่องจากเรามีความพร้อมทุกด้าน ได้แก่บุคลากรของศูนย์สิ่งแวดล้อมฯ มีคุณวุฒิการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม สาขาอนามัยสิ่งแวดล้อม และสาขาอาชีวอนามัย และ ความปลอดภัยที่สามารถดำเนินการตรวจวัดและวิเคราะห์ได้ตามที่กฎกระทรวงกำหนด สำหรับด้านเครื่องมือ เนื่องจากศูนย์สิ่งแวดล้อมฯได้รับการรับรองมาตรฐานห้องปฏิบัติการISO/IEC 17025 จากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมในห้องปฏิบัติการทดสอบและสอบเทียบเครื่องแก้ว วัดปริมาตร ส่วนในด้านสถานที่นั้นห้องปฏิบัติการของศูนย์ ได้มีการควบคุมคุณภาพด้านสถานที่และสภาวะแวดล้อมในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการ ISO/IEC 17025 และมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองใน“โครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย”ของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ”ดร.พรธิดากล่าว ข้อมูลและภาพจากเว็บไซต์ https://www.naewna.com/local/653819

ม.สวนดุสิต รับโล่รางวัลระดับทอง ในงานมอบรางวัลโครงการกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2563

ผศ.ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ และนักศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม, หลักสูตรสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม และหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย (หลักสูตรใหม่) คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับโล่รางวัล ระดับทอง จากอธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ซึ่งจัดงานมอบรางวัลผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ระดับประเทศ ประจำปี 2563  จากจำนวนมหาวิทยาลัยทั่วประเทศที่ได้รับรางวัลตามเกณฑ์มาตรฐานดังกล่าว 52 แห่ง โดยแบ่งเป็นระดับทอง 12 แห่ง ระดับเงิน 16 แห่ง และระดับทองแดง จำนวน 24 แห่ง ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในวันที่ 28 มีนาคม 2565 ซึ่งนักศึกษาหลักสูตรดังกล่าว ได้รับโล่รางวัลระดับทอง เป็นปีที่ 2 จากการดำเนินการกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ประจำปี 2562 ซึ่งใช้โครงการ Green & Clean University 2019 (พื้นที่ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร)  เครดิต: By สรรค์วเรศ

ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ ดร.ทัศนีย์ พาณิชย์กุล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ รศ.ดร.ทัศนีย์ พาณิชย์กุล ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของสารสกัดทองพันชั่งและใบบัวบก เลขที่อนุสิทธิบัตร 16990

ขอแสดงความยินดีกับผู้ช่วยศาตราจารย์ ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์  อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน ปูนฉาบทนไฟเสริมนาโนซิลิคอน เลขที่อนุสิทธิบัตร 17249

ขอแสดงความยินดี กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดี กับผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ เนื่องในโอกาสได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มติที่ประชุมสภามหาวิทยาลัยครั้งที่ 4 (16)/2564 วันที่ ๒๘ พฤษภาคม 2564

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการ AUCC 2021

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการ AUCC 2021 รางวัลระดับ Very Good 1 กลุ่ม  และรางวัลระดับ Good 4 กลุ่ม นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้ส่งตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ในงานประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย    ครั้งที่ 9 (The 9th Asia Undergraduate Conference on Computing : AUCC) ระหว่างวันที่ 25 – 26  กุมภาพันธ์ 2564 โดยการนำเสนอผลงานด้วยคลิปวิดีโอ และถามตอบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom meeting โดยผลรางวัลที่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการ AUCC2020 ทั้งหมด 8 กลุ่ม เป็นบทความทั้งหมด 8 กลุ่ม ซึ่งได้รับรางวัล 5 กลุ่ม —

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ารับรางวัล Green Youth

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และสาขาสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม เข้ารับรางวัล ผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (green youth) ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ.2562 ระดับทอง จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  

นักศึกขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ที่ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดีกับนางสาวณัฐชยา เเซ่โก นางสาวนภสร ใจมั่น และนายสิทธิเจตน์ อุไรวิชัยกุล นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ที่ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม (I-New Gen Award 2020) ระดับอุดมศึกษา ในงานวันนักประดิษฐ์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2563 ณ Hall 102 – 104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ โดยนวัตกรรมของผลงานคือการใช้สารให้สีจากธรรมชาติ เน้นใช้พืชสมุนไพรไทย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทำให้สีจากธรรมชาติมีความคงตัวสูง และพัฒนาเป็นแป้งอัดแข็ง “Curcuma fixer foundation press powder” ภายใต้การดูแลของอาจารย์ฤทธิพันธ์ รุ่งเรืองและอาจารย์ ดร วิทวัส รัตนถาวร

ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภทการประกวด: รูปแบบภาคบรรยาย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภทการประกวด: รูปแบบภาคบรรยาย (ปากเปล่า) จำนวน 2 ผลงาน ดังนี้ 1. การทดลอง Arduino เพื่อหาค่าความเร่งโน้มถ่วง เรื่องการตกแบบเสรี ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดย นางสาวพรรณธิฌา วิเชียร และนายจักรี สลับศรี 2. การออกแบบและพัฒนาชุดทดลอง เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โดยการควบคุมความดันของฐานยิงจรวดขวดน้ำด้วยวงจร Arduino ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่ม – เกม – การแข่งขัน โดย นางสาวรัตนาภรณ์ นวะบุตร และนางสาวภควรรณ มะอนันต์ ในการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาตรี เครือข่าย 9 มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิราภรณ์ พงษ์โสภา อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา <br>

Translate »