คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมเสวนาเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม “โครงการวิจัยท้าทายไทย กลุ่มกระบวนการยุติธรรมรองรับ 4.0”

โรงเรียนนายร้อยตำรวจและสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จัดการเสวนาเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม “โครงการวิจัยท้าทายไทย กลุ่มกระบวนการยุติธรรมรองรับ 4.0” แผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมทางกฎหมาย นิติวิทยาศาสตร์ และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรมและการบริหารงานยุติธรรม โดยมีการนำเสนอผลงานวิจัยที่น่าสนใจจำนวน 15 โครงการ ใน 3 ด้าน คือด้านนวัตกรรมทางกฎหมาย 6 โครงการ, นวัตกรรมทางนิติวิทยาศาสตร์ 4 โครงการ, และนวัตกรรมด้านฐานข้อมูล 5 โครงการ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนาพร้อมทั้งปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “บทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกับการแก้ไข ปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรมและการบริหารงานยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน” โดยมี ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง ดร.พัชรา สินลอยมา ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กล่าวสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม ซึ่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับทุนวิจัยโครงการดังกล่าว ทั้งหมด 2 โครงการ โดย รศ.ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์ คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง ได้ศึกษาการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมทางกฎหมาย นิติวิทยาศาสตร์  และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ในกรอบการวิจัยที่ 1 ด้านนวัตกรรมทางกฎหมาย ในหัวข้อ “ศึกษาผลสัมฤทธิ์กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน Study of

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมนำเสนองานวิจัย ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563  ทั้งนี้งานวิจัยเรื่อง การออกแบบและพัฒนาชุดทดลอง เรื่อง การชนใน 2 มิติร่วมกับการจัดการเรียนการสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์  โดยนางสาวศรัญญา  เพียงคาม และนางสาวกิตติยา  วารุรัตน์  นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับรางวัลระดับดี    และงานวิจัยเรื่องการออกแบบและพัฒนาชุดการทดลอง เรื่องโมเมนตัมและการชนในหนึ่งมิติกับการจัดการเรียนการสอนแบบบรรยายสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์ โดย นางสาวดาริกา ชาสงวน และนางสาวกชทัศ  สืบชาติ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับรางวัลระดับชมเชย โดยงานวิจัยทั้ง 2 เรื่องมีอาจารย์ตระกูล  รัมมะฉัตร เป็นที่ปรึกษา    

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมค่ายเพื่อพัฒนาทักษะฯโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

คณาจารย์ นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตร่วมกับคณะครูโรงเรียนมักกะสันพิทยา จัดค่ายเพื่อพัฒนาทักษะฯโดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 จำนวน 200 คน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพนักศึกษาเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวเปิดงานโครงการพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพนักศึกษาเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 มหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพนักศึกษา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้อง Hall 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร

ผศ.ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 8 (The 8th Asia Undergraduate Conference on Computing: AUCC 2020) และ The 1st Asia Joint Conference on Computing : AJCC 2020

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดย ผศ.ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมพร้อมทั้งกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดการประชุมวิชาการปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 8 (The 8th  Asia Undergraduate Conference on Computing: AUCC 2020) และ The 1st Asia Joint Conference on Computing : AJCC 2020 เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยสำหรับคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป   ซึ่งในปีนี้การประชุมวิชาการ AUCC2020 มีผู้สนใจจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ส่งบทความเข้าร่วมนำเสนอปากเปล่า จำนวน 321 บทความ และการประชุมวิชาการ AJCC2020 จำนวน 21 บทความ  ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ณรงค์  ศิริเลิศวรกุล  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้แทนรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เป็นประธานเปิดงาน  พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “AI เพื่อการพัฒนาประเทศไทย” นอกจากนี้  ไฮไลท์สำคัญของการจัดงาน คือ การรับฟังบรรยายพิเศษจาก Mr. Roy

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการใหม่ 35 สถาบัน สำหรับการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย The Asia Undergraduate Conference on Computing: AUCC และ The Asia Joint Conference on Computing: AJCC

ดร.สวงค์ บุญปลูก รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประธานในพิธี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการใหม่ 35 สถาบัน สำหรับการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย The Asia Undergraduate Conference on Computing: AUCC และ The Asia Joint Conference on Computing: AJCC เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยสำหรับคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป ณ อาคารรักตะกนิษฐ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 https://www.youtube.com/watch?v=ARqLXRA84ek

นักศึกขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ที่ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดีกับนางสาวณัฐชยา เเซ่โก นางสาวนภสร ใจมั่น และนายสิทธิเจตน์ อุไรวิชัยกุล นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ที่ได้รับรางวัลเหรียญเงินจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม (I-New Gen Award 2020) ระดับอุดมศึกษา ในงานวันนักประดิษฐ์ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2563 ณ Hall 102 – 104 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ โดยนวัตกรรมของผลงานคือการใช้สารให้สีจากธรรมชาติ เน้นใช้พืชสมุนไพรไทย โดยใช้เทคโนโลยีที่ทำให้สีจากธรรมชาติมีความคงตัวสูง และพัฒนาเป็นแป้งอัดแข็ง “Curcuma fixer foundation press powder” ภายใต้การดูแลของอาจารย์ฤทธิพันธ์ รุ่งเรืองและอาจารย์ ดร วิทวัส รัตนถาวร

ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภทการประกวด: รูปแบบภาคบรรยาย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับนักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ ได้รับรางวัลเหรียญทอง ประเภทการประกวด: รูปแบบภาคบรรยาย (ปากเปล่า) จำนวน 2 ผลงาน ดังนี้ 1. การทดลอง Arduino เพื่อหาค่าความเร่งโน้มถ่วง เรื่องการตกแบบเสรี ร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบใช้ปัญหาเป็นฐาน กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดย นางสาวพรรณธิฌา วิเชียร และนายจักรี สลับศรี 2. การออกแบบและพัฒนาชุดทดลอง เรื่อง การเคลื่อนที่แบบโพรเจกไทล์ โดยการควบคุมความดันของฐานยิงจรวดขวดน้ำด้วยวงจร Arduino ร่วมกับการจัดการเรียนการสอนแบบกลุ่ม – เกม – การแข่งขัน โดย นางสาวรัตนาภรณ์ นวะบุตร และนางสาวภควรรณ มะอนันต์ ในการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัย นักศึกษาระดับปริญญาตรี เครือข่าย 9 มหาวิทยาลัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิราภรณ์ พงษ์โสภา อาจารย์ประจำหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา <br>

ร่วมแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรชาติ สินวรณ์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรชาติ สินวรณ์ ในโอกาสที่เข้ารับรางวัลผู้นำด้านการศึกษาของประเทศไทย (The Thailand Education Leadership Awards) ในปี ค.ศ. 2020 ในด้าน Best Professor In Occupational Health Studies จัดโดย สมาพันธ์แห่งเอเชียร่วมกับ CMO Asia เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2563ณ โรงแรม plaza athenee กรุงเทพมหานคร        

Translate »