ขอแสดงความยินดี กับ ผศ.ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดี กับ ผศ.ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน กรรมวิธีการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวทับทิมชุมแพ เลขที่อนุสิทธิบัตร 21596 จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์นี้เป็นการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวไทยที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ คือข้าว กข69 “ข้าวทับทิมชุมแพ” ใช้กระบวนการสกัดที่ลดการใช้ปริมาณตัวทำละลายอินทรีย์ และระยะเวลาในการสกัด แต่ยังได้สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ สารสกัดข้าวทับทิมชุมแพที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ทดแทนสารเคมีสังเคราะห์ในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามได้ และยังเป็นการลดการนำเข้าสารสกัดจากต่างประเทศรวมทั้งเป็นการส่งเสริมหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

รางวัลเชิดชูเกียรติบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2566

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดี กับบุคลากรทุกท่านที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติคัดเลือกผลงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมจัดแสดงในงาน “The 48th International Exhibition of Invention Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติคัดเลือกผลงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมจัดแสดงในงาน “The 48th International Exhibition of Invention Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส  นำโดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และทีมนักวิจัย ทั้งนี้จากการพิจารณารางวัลในงานดังกล่าว มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสามารถคว้ารางวัลจำนวนรวมทั้งสิ้น 8 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรติ 2 รางวัล รางวัลเหรียญทอง 1 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน 1 รางวัล และรางวัลเหรียญทองแดง 4 รางวัล จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปจัดแสดงทั้งสิ้น 6 ผลงาน ได้แก่ ผลงาน “สารดับเพลิงผงเคมีแห้งจากวัสดุชีวภาพเหลือใช้ทางการเกษตร” และผลงาน “นาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้ที่สามารถบริโภคได้ จากผลพลอยได้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม” โดย​ ผศ.ดร.ณัฐบดี​ วิริยาวัฒน์​ ผลงาน “สารสีชีวภาพจาก Monascus spp. สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสี” และผลงาน “นวัตกรรมการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่จากเซลล์ว่านเพชรหึงสำหรับใช้ในเวชสำอาง” โดย

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ม.สวนดุสิต คว้า 2 รางวัลจากผลงานสารสีชีวภาพจาก Monascus purpureus สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสี

🎊 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอแสดงความยินดีกับ นางสาววนิดา สีวิสาร นางสาวรัชนีกร จั่นสกุล นางสาวสุมินตรา บุพศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คว้า 2 รางวัล ได้แก่ รางวัล Popular vote และรางวัลเหรียญเงิน 🥈 จากผลงานสารสีชีวภาพจาก Monascus purpureus สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสี ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม I New Gen Award 2023 ภายใต้งาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2566 ณ Event Hall 100 – 102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2566✨ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฤทธิพันธ์ รุ่งเรืองอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินที่มีจุลินทรีย์ที่สามารถละลายโพแทสเซียมในดินได้และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เลขที่อนุสิทธิบัตร 20498 จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์มีลักษณะเป็นสารเสริมการเติบโตของพืช ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณ ซิลิกาสูง อาทิเช่น แกลบข้าว ฟางข้าว ฯ นำมาผ่านกระบวนการที่ทำให้มีขนาดอนุภาคเล็กระดับนาโน ทำให้พืชดูดซึมไปใช้ได้ง่าย โดยนาโนซิลิคอน (Nano-SiO2) ที่ละลายน้ำ อยู่ในดินในรูปกรดซิลิสิก (Si(OH)4) จะเข้าไปสะสมที่ลำต้นและใบพืช อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลึกของกรดซิลิเกต (silicate) เคลือบเป็นเกล็ดแข็งที่ผนังเซลล์พืช ทำให้ต้นและใบแข็งแรง ลดการคายน้ำผ่านผิวเคลือบคิวติน (cutin) จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นอกจากนี้ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ที่จะมากัดกินต้นพืชสามารถนำไปใช้กับพืชทุกชนิด รวมถึงพืชเศรษฐกิจที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับต้นและใบ

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.จันทรัสจ์ วุฒิสัตย์วงศ์กุล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.จันทรัสจ์ วุฒิสัตย์วงศ์กุล ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน กรรมวิธีการผลิตแผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากวัสดุเส้นใยจากธรรมชาติ เลขที่อนุสิทธิบัตร 20543 จุดเด่นของการประดิษฐ์ กรรมวิธีการผลิตแผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากวัสดุเส้นใยจากธรรมชาตินี้ เป็นการนำใบสับปะรดซึ่งเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาทำเป็นแผ่นทำความเย็นแบบระเหย โดยปรับปรุงสมบัติเชิงกลขณะเปียกของกระดาษจากใบสับปะรดโดยใช้พอลิเมอร์กลุ่มเทอร์โมเซตติ้งแทนการใช้สาร wet strength resin กลุ่มฟอร์มาลดีไฮด์ซึ่งเป็นพิษ โดยที่แผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากใบสับปะรดมีสมบัติใกล้เคียงกับแผ่นทำความเย็นแบบระเหยเชิงพาณิชย์ การนำใบสับปะรดมาทำเป็นแผ่นทำความเย็นแบบระเหยไม่ได้เป็นเพียงการลดปริมาณขยะและอนุรักษ์ป่าไม้เท่านั้น แต่ยังเป็นเพิ่มมูลค่าให้กับใบสับปะรดอีกด้วย

ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวจิตรวดี ตั้งหิรัญรัตน์ และคณะ หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอแสดงความยินดีกับ นางสาวจิตรวดี ตั้งหิรัญรัตน์ และคณะ หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร ในผลงาน “สูตรมายองเนสที่มีส่วนผสมสารสกัดข้าวเหนียวดำ” จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์นี้เป็นการพัฒนาสูตรมายองเนสที่มีส่วนผสมสารสกัดข้าวเหนียวดำที่มีส่วนผสมของสารสกัดข้าวเหนียวดำ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นานขึ้นสารสกัดข้าวเหนียวดำช่วยลดปริมาณค่าเปอร์ออกไซด์และป้องกันการหืนในผลิตภัณฑ์ได้ดี ช่วยเพิ่มคุณประโยชน์ให้กับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้กับพืชเศรษฐกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ทดแทนสารกันหืนสังเคราะห์ได้

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค หลักสูตรเทคโนโลยีเคมี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค หลักสูตรเทคโนโลยีเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อการประดิษฐ์ องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เลขที่อนุสิทธิบัตร 20303

โครงการแข่งขันทักษะทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (MFU Cosmetic Contest: Concept to prototype)

นักศึกษาหลักสูตรเครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในโครงการแข่งขันทักษะทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (MFU Cosmetic Contest: Concept to prototype) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ฤทธิ์พันธ์ รุ่งเรือง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาการประกวด

นักศึกษาหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย ได้รับรางวัล Green Youth ประจำปี 2564 ระดับทอง เป็นที่ 1 ของประเทศ

ขอแสดงความยินดี กับตัวแทนนักศึกษาหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย ที่ได้รับการถ่ายทอด Green Youth DNA จากรุ่นพี่หลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม ได้รับรางวัล Green Youth ของโครงการการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (Green Youth) ประจำปี 2564 ระดับทอง เป็นที่ 1 ของประเทศ (จากจำนวนมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมแข่งขัน 59 มหาวิทยาลัย และได้รับรางวัลระดับทอง 5 มหาวิทยาลัย ระดับเงิน 15 มหาวิทยาลัย และระดับทองแดง 24 มหาวิทยาลัย) จากรอบตัดสินโดยคณะผู้ทรงคุณวุฒิของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 8-10 สิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา นักศึกษาชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งเป็นนักศึกษาของหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและหลักสูตรอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย ได้รับโล่รางวัล อยู่ใน เกณฑ์มาตรฐานระดับทอง 3 ปีซ้อน จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ประจำปี 2562 – 2564 ภายใต้โครงการ Green & Clean

Translate »