มหาวิทยาลัยสวนดุสิตรับใบประกาศนียบัตรจากการดำเนินงานด้านการจัดการก๊าซเรือนกระจก ในงาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ประจำปี 2563

เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยกองกลาง สำนักงานมหาวิทยาลัย โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ กองอาคารและสถานที่สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียนและกองนโยบายและแผน โครงการอาหารกลางวัน 1 ศูนย์บริหารกายเพื่อสุขภาพ สวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ สวนดุสิตโพลสำนักงานคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะพยาบาลศาสตร์ โรงเรียนการเรือน สำนักงานอาคารบริการวิทยาศาสตร์  ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ศูนย์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี และ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งลำปางรวม 18 หน่วยงานได้รับประกาศนียบัตรจากโครงการสนับสนุนกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจก (Less Emission Support Scheme: LESS) ในประเภทกิจกรรมจัดการของเสีย และประเภทกิจกรรมป่าไม้และพื้นที่สีเขียวในงาน “ร้อยดวงใจ ร่วมใจลดโลกร้อน” ประจำปี 2563 จัดโดย องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) โดยมี ดร.วรานี เวสสุนทรเทพรองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี เป็นผู้แทนมหาวิทยาลัยสวนดุสิตรับมอบ  โดยได้รับเกียรติจาก นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลีย์ ประตูน้ำ กรุงเทพฯ และในโอกาสนี้ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิตยังได้รับการขึ้นทะเบียนคาร์บอนฟรุตพริ้นท์องค์กร (Carbon

การอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยเกณฑ์ใหม่”

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเรียนเชิญ คณาจารย์เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ “หลักเกณฑ์การขอตำแหน่งทางวิชาการด้วยเกณฑ์ใหม่” โดย ศ.ดร.บุญเรียง ขจรศิลป์ วันที่ 26 สิงหาคม 2563 Online ผ่านระบบ Zoom และ Onsite ณ ห้องHall 4 อาคารเฉลิมพระเกียติ 50 พรรษาฯ ศูนย์วิทยาศาสตร์ (ถนนสิรินธร) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ประกาศรายชื่อนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา “ทุนช่วยเหลือนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต”

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับน้องนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา “ทุนช่วยเหลือนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต”

ประชาสัมพันธ์ ทุนมูลนิธิอื้อจือเหลียง

ด้วยมูลนิธิอื้อจือเหลียง มีจิตศรัทธาบริจาคทุนการศึกษาแก่นักศึกษาที่เรียนดี มีความประพฤติดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ จำนวน 2 ทุน ทุนละ 15,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 30,000 บาท คุณสมบัติผู้สมัคร 1. ต้องเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ถึง 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2. ผลการศึกษาได้เกรดเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไป 3. ฐานะทางบ้านยากจน 4. มีความประพฤติดี สนใจการเรียน 5. ต้องไม่ได้รับทุนจากสถาบันอื่น กำหนดส่งเอกสาร 1. ส่งใบสมัครที่ หลักสูตร ภายใน 21 สิงหาคม 2563 2. ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการสัมภาษณ์ ในวันที่ 26 สิงหาคม 2563 3. นักศึกษาเข้ารับการสัมภาษณ์ทุน ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 13.30-16.00 น. น้องนักศึกษาที่สนใจสามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ตามลิ้งค์

ประชาสัมพันธ์รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ประจำภาคการศึกษาที่1/2563

ประชาสัมพันธ์รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ประจำภาคการศึกษาที่1/2563 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้ง 10 หลักสูตร หลักสูตรจัดการเรียนการสอน เป็น 2 รูปแบบ คือ – Onsite (ห้องเรียนที่ได้รับจัดสรรในระบบ) – Online (ผ่านระบบ MS Teams, Zoom, WBSC-LMS) น้องนักศึกษาสามารถเข้าดูตารางเรียนและรูปแบบการจัดการเรียนการสอน ของแต่ละรายวิชาในหลักสูตรได้ตามลิงค์ http://gg.gg/lf2xo นะคะ

มหาวิทยาลัยสวนดุสิตจัดการเรียนแบบวิถี New Normal “3 ONs” ปีการศึกษา 2563

ปีการศึกษา 2563 สวนดุสิตจัดการเรียนแบบวิถี New Normal “3 ONs : Online  OnSite  OnAir” ในบางรายวิชาจะมีการเรียน Online 50% ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคณะ/โรงเรียน ในการจัดตารางเรียนให้ดับนักศึกษา น้องๆ สามารถติดต่อรายละเอียดได้ที่ คณะ/โรงเรียน ที่ตนสังกัดอยู่ หรือประสานกับอาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อที่เราจะไม่พลาดทุกการเรียนรู้ของแต่ละรายวิชานะคะ

เปิดภาคการเรียนใหม่ ประจำปีการศึกษา 2563 NEW NORMAL

เปิดเทอมนี้ !!! สวนดุสิต New Normal นะคะ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2563 วันเปิดเทอมนักศึกษา ทุกคณะ ทุกชั้นปี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ารับการตรวจประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2562

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ารับการตรวจประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2562 รอบ 12 เดือน โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัณณ์รภัส ถกลภักดี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธาน อาจารย์ธิติมา  แก้วมณี รองคณบดีโรงเรียนการเรือน และอาจารย์ ดร.วีณัฐ  สกุลหอม รองคณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต  เป็นคณะกรรมการผู้ตรวจประกันคุณภาพฯ ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศูนย์วิทยาศาสตร์(ถนนสิริธร) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2563 เวลา 8.30-16.30 น. ข่าวและภาพ:รัตนาพร ศรีมาตย์

จรรยาบรรณวิชาชีพวิจัยและแนวทางปฏิบัติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ

ในการประชุมเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2541 ได้กำหนดจรรยาบรรณ นักวิจัยขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวหลักเกณฑ์ควรประพฤติ ของนักวิจัยทั่วไป ไม่ว่าสาขาวิชาการใด ๆ โดยให้มีลักษณะ เป็นข้อพึงสังวรณ์คุณธรรม และจริยธรรม ในการทำงานวิจัย ของนักวิจัยไทย ดังนี้ “นักวิจัย” หมายถึง ผู้ที่ดำเนินการค้นคว้าหาความรู้ อย่างเป็นระบบ เพื่อตอบประเด็นที่สงสัย โดยมีระเบียบวิธี อันเป็นที่ยอมรับ ในแต่ละศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ระเบียบวิธีดังกล่าว จึงครอบคลุมทั้งแนวความคิด มโนทัศน์ และวิธีการที่ใช้ ในการรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูล “จรรยาบรรณ” หมายถึง หลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรม และจริยธรรม ในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคลแต่ละสาขาอาชีพ ประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้นๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชีพของตน จรรยาบรรณในการวิจัย จัดเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ของระเบียบวิธีวิจัย เนื่องด้วยในกระบวนการค้นคว้าวิจัย นักวิจัยจะต้องเข้าไปเกี่ยวข้องใกล้ชิด กับสิ่งที่ศึกษา ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิต หรือไม่มีชีวิต การวิจัยจึงอาจส่งผลกระทบ ในทางลบต่อสิ่งที่ศึกษาได้ หากผู้วิจัยขาดความรอบคอบระมัดระวัง การวิจัยเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ต่อการวางแผนและกำหนดนโยบาย ในการพัฒนาประเทศทุกด้าน

Translate »