กิจกรรมการลงพื้นที่เพื่อดำเนินการพัฒนาการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวกล้วยเล็บมือนางในวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ ศูนย์การศึกษานครนายก ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการพัฒนาการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวกล้วยเล็บมือนาง ในวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566 ณ โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรปลอดภัย และนันทนาการ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อ ๑. ดำเนินการพัฒนาวัสดุปลูกคุณภาพสูง โดย ผศ.ดร.รุงเกียรติ แกวเพชร ดำเนินการโดยใช้วัสดุเหลือทิ้งจากศูนย์การเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย เศษใบมะม่วง เศษใบไผ่ และมูลโค เริ่มจากเศษใบมะม่วง ๓ ส่วน มูลโค ๑ ส่วน ใบไผ่ ๒ ส่วน วางทับกันเป็นชั้น ๆ ระหว่างชั้นรดน้ำให้ชุ่ม รวมสูงประมาณ ๑ เมตร ฐานเส้นผ่านศูนย์กลางยาว ๑ เมตร ให้ศูนย์ฯ ดำเนินการรดน้ำทุกวัน และทำการเจาะรูกองวัสดุปลูก เติมน้ำลงรูให้ชุ่มและปิดรูทุก ๆ๗ วัน ใช้ระยะเวลาทั้งหมดรวม ๖๐ วัน ๒. ติดตามแปลงปลูกกล้วย โดย

ภาพกิจกรรมการอบรม โครงการ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลเด็ก” ณ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก

ภาพกิจกรรมการอบรม โครงการ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลเด็ก” ณ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก โดยวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาล อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้แก่ ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ผศ.ดร.ชฎามาศ ขาวสะอาด อาจารย์สุวิทย์ นำภาว์ อาจารย์เยาวเรศ ส่วนบุญ หัวข้อการบรรยายและฝึกปฏิบัติ บรรยายตระหนักรู้ความปลอดภัยเด็กกับการปฐมพยาบาล อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเด็กมีไข้สูง มีโอกาสเสี่ยงเกิดการชัก เกร็ง อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดอุบัติเหตุ บาดแผลเปิด บาดแผลปิด ในเด็ก อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีมีสิ่งอุดกั้นระบบทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหารในเด็ก หน่วยงานรับผิดชอบ: ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ / คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ / คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาพถ่ายโดย : คุณกษมา ซำอ๊วง #sdu#science#มสด#สวนดุสิต#คณะวิทย์สวนดุสิต#ศูนย์การศึกษานครนายก#โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ#อนุบาล#ครู#ผู้ดูแลเด็ก#ปฐมพยาบาล#พยาบาล#อาหารติดคอ#ทำแผล#CPR

โครงการ “Happy Science Happy University” กรณีศึกษา “ศิลปะการใช้ชีวิตกับผู้อื่น”

📣 ฝ่ายความร่วมมือและโครงการพิเศษ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ🌟 จัดโครงการ “Happy Science Happy University” กรณีศึกษา “ศิลปะการใช้ชีวิตกับผู้อื่น”📌 ในวันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน 2566 เวลา 13.45 – 14.15 น. ในรูปแบบไฮบริด💡 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สวงค์ บุญปลูก รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นวิทยากรบรรยาย👉🏻 ดำเนินรายการ โดย ผศ.ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ และ ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย

ประมวลภาพโครงการ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลเด็ก” วันที่ 18 เมษายน 2566 ณ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ (วิทยาเขตสุพรรณบุรี)

🎉🎉🎉ประมวลภาพโครงการ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลเด็ก”วันที่ 18 เมษายน 2566 เวลา 08.00 – 13.30 น. ณ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ (วิทยาเขตสุพรรณบุรี) 🌟โดยวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาล อาชีวอนามัยและความปลอดภัย1.ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย2.ผศ.ดร.ชฎามาศ ขาวสะอาด3.อาจารย์สุวิทย์ นำภาว์4.อาจารย์เยาวเรศ ส่วนบุญ 💡เนื้อหาการอบรม🔴 ตระหนักรู้ความปลอดภัยเด็กกับการปฐมพยาบาล🔴 การปฐมพยาบาลเบื้องในกรณีเด็กมีไข้สูง🔴 การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดบาดแผลเปิดและแผลปิด🔴 ในระบบทางเดินหายใจ 📌หน่วยงานรับผิดชอบ: ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์/คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี/ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ และคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาพถ่ายโดย อาจารย์ตระกูล รัมมะฉัตร

ภาพกิจกรรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลเด็ก” โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลเด็ก” โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ 30 มีนาคม พ.ศ.2566 เวลา 08.00-13.30 น. ณ อาคาร ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยากรอบรมเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 1. อาจารย์ รัชนี ชัยประเดิมศักดิ์ 2. ผศ.ดร.สิรวัลย์ เรืองช่วย ตู้ประกาย 3. ผศ.ดร.ชฎามาศ ขาวสะอาด 4. อาจารย์ สุวิทย์ นำภาว์ 5. อาจารย์ เยาวเรศ ส่วนบุญ เนื้อหาการอบรม – ตระหนักรู้ความปลอดภัยเด็กกับการปฐมพยาบาล – การปฐมพยาบาลเบื้องในกรณีเด็กมีไข้สูง – การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดบาดแผลเปิดและแผลปิด – การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีสิ่งแปลกปลอมอุดกั้นในระบบทางเดินหายใจ หน่วยงานรับผิดชอบ: ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ / คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี /ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ / คณะพยาบาลศาสตร์

การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดโครงการพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ปีการศึกษา 2565 กิจกรรมที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพการศึกษา เครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ 28 มีนาคม 2566 เวลา 9.00 – 12.00 น. ออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM และห้อง online 03 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ เป็นวิทยากรการบรรยาย “แนวทางในการปฏิบัติงานด้านประกันคุณภาพการศึกษา ในสถานการณ์ next normal”

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมกิจกรรม GREEN YOUTH ACTIVITY SCHEDULE 2023 “ HERO FOR ZERO ”

ขอแสดงความยินดีกับตัวแทนนักศึกษาชมรมอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สังกัดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอนามัยสิ่งแวดล้อมและสาธารณภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมกิจกรรม GREEN YOUTH ACTIVITY SCHEDULE 2023 “ HERO FOR ZERO ” ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม 2566 ณ โรงแรม Gold Orchid และกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรุงเทพฯ และศูนย์เรียนรู้ชุมชนปลอดขยะบ้านรางพลับ จังหวัดราชบุรี เป็นกิจกรรม workshop การเรียนรู้เรื่องการจัดการขยะ เพื่อออกแบบและสร้าง content เพื่อผลิตสื่อสร้างสรรค์ ด้านสิ่งแวดล้อม เป็นการส่งเสริมการมีส่วนร่วมด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พร้อมประกวดชิงรางวัล ซึ่งผลการประกวด ตัวแทนนักศึกษาชมรมฯ ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดการผลิตสื่อสร้างสรรค์ ชื่อผลงาน  “เผา=ฝุ่น” คือ ทีมสีน้ำเงิน นางสาวฐนิชา เสนานุวงศ์ และนางสาวศศิธร ธรรมีภักดิ์ และรางวัลรองชนะเลิศการประกวดการผลิตสื่อสร้างสรรค์  ชื่อผลงาน “ทิ้งถูกเเยกได้ใช้ซ้ำ” คือ ทีมสีม่วง นางสาวมนัญชยา พวงลำเจียก โดยสื่อที่ชนะการประกวดดังกล่าวจะได้ออกอากาศทางคลื่นวิทยุ FM ONE

หลักสูตรการใช้ดิจิทัลเพื่อการทำงานร่วมกัน ความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security)

การอบรมหลักสูตรทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนายทหารชั้นประทวน รุ่นที่ 4 ในหลักสูตรกำหนดให้มีการฝึกอบรม วิชา การใช้ดิจิทัล เพื่อการทำงานร่วมกัน ความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security) ระยะเวลาการอบรม ตั้งแต่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 – 1 มีนาคม 2566 ณ โรงเรียนทหารสื่อสาร กรมการทหารสื่อสาร โดยมีผู้รับการฝึกอบรม จำนวน 34 นาย โดยมีวิทยากร คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า และอาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ ภิรมย์นก

โครงการ Happy Science Happy University กรณีศึกษา : เทคนิคการจัดการความเครียด

ฝ่ายความร่วมมือและโครงการพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ฯ จัดโครงการ Happy Science Happy University กรณีศึกษา : เทคนิคการจัดการความเครียด ในวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.45 – 14.15 น. วิทยากรโดย ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ และ ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ออนไลน์ผ่าน MS Teams

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ศึกษาดูงานและร่วมประชุมหาแนวทางในการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน

ผศ.ดร.ฐิตินาถ  สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมทั้งบุคลากรที่ร่วมพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ เข้าศึกษาดูงานและร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางในการจัดทำความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสถาบัน เพื่อพัฒนาหลักสูตรให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับการทำงานในสถานการณ์ปัจจุบัน พร้อมเยี่ยมชมศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และคอมพิวเตอร์สมรรถนะสูง (SICC) และห้องปฏิบัติการบรรจุภัณฑ์ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ โดยมี รศ.ดร.สุรพันธ์ ยิ้มมั่น รองอธิการบดีฝ่ายส่งเสริมอุตสาหกรรมและพัฒนาธุรกิจศึกษา รศ.ดร.เพียรพูล กมลจิตร์ประภา คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ และบุคลากรของคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ร่วมต้อนรับอย่างอบอุ่น ในวันอังคาร ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566

Translate »