ขอแสดงความยินดี กับ ผศ.ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดี กับ ผศ.ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน กรรมวิธีการสกัดและกักเก็บสารสกัดในรูปไมโครแคปซูล

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สิรวัลย์ เรืองช่วย ตู้ประกาย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สิรวัลย์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร ผลงาน “เครื่องตัดสับฟางข้าว แบบติดรถเกี่ยวนวดข้าว”

รางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพจน์ หริตกุล ผู้รับผิดชอบห้องปฏิบัติการเคมี 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เข้ารับรางวัลห้องปฏิบัติการดีเด่น จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และเข้าร่วมนำเสนอ Best Practice ในการพัฒนาห้องปฏิบัติการ ในการประชุมวิชาการประจำปีด้านมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการเครือข่ายวิจัยภูมิภาค ภาคกลาง ปี 2566 วันอังคารที่ 23 มกราคม 2567 ณ ห้องแกรนด์บอลลูม โรงแรมรามาการ์เด้นส์ กรุงเทพมหานคร

ผลงานนวัตกรรมสกินแคร์สารสกัดจากยอดอ่อนและดอกทุเรียน โดย ผู้ศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ ทองตัน

ผลงานนวัตกรรมสกินแคร์สารสกัดจากยอดอ่อนและดอกทุเรียน โดย ผู้ศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ ทองตัน อาจารย์นักวิจัย หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับ บริษัท ทิพย์สุรัตน์ จำกัด ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Durrianar By SQ (ดูร์เรียนาร์ บาย เอสคิว) ได้รับรางวัล Creator Awards ประจำปี 2023 ในรอบสุดท้าย ในโครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับประเทศในงาน Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย และพิธีประกาศผลและมอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรม 7 INNOVATION AWARDS 2023 ปีที่ 10 ณ ภีรัชฮอลล์ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม 2566

ขอแสดงความยินดี กับ ผศ.ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดี กับ ผศ.ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน กรรมวิธีการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวทับทิมชุมแพ เลขที่อนุสิทธิบัตร 21596 จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์นี้เป็นการสกัดสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจากข้าวไทยที่ผ่านการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ คือข้าว กข69 “ข้าวทับทิมชุมแพ” ใช้กระบวนการสกัดที่ลดการใช้ปริมาณตัวทำละลายอินทรีย์ และระยะเวลาในการสกัด แต่ยังได้สารสำคัญที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ สารสกัดข้าวทับทิมชุมแพที่ได้จากการสกัดด้วยวิธีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ทดแทนสารเคมีสังเคราะห์ในผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและความงามได้ และยังเป็นการลดการนำเข้าสารสกัดจากต่างประเทศรวมทั้งเป็นการส่งเสริมหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย

รางวัลเชิดชูเกียรติบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2566

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดี กับบุคลากรทุกท่านที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติคัดเลือกผลงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมจัดแสดงในงาน “The 48th International Exhibition of Invention Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติคัดเลือกผลงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมจัดแสดงในงาน “The 48th International Exhibition of Invention Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส  นำโดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และทีมนักวิจัย ทั้งนี้จากการพิจารณารางวัลในงานดังกล่าว มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสามารถคว้ารางวัลจำนวนรวมทั้งสิ้น 8 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรติ 2 รางวัล รางวัลเหรียญทอง 1 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน 1 รางวัล และรางวัลเหรียญทองแดง 4 รางวัล จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปจัดแสดงทั้งสิ้น 6 ผลงาน ได้แก่ ผลงาน “สารดับเพลิงผงเคมีแห้งจากวัสดุชีวภาพเหลือใช้ทางการเกษตร” และผลงาน “นาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้ที่สามารถบริโภคได้ จากผลพลอยได้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม” โดย​ ผศ.ดร.ณัฐบดี​ วิริยาวัฒน์​ ผลงาน “สารสีชีวภาพจาก Monascus spp. สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสี” และผลงาน “นวัตกรรมการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่จากเซลล์ว่านเพชรหึงสำหรับใช้ในเวชสำอาง” โดย

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ม.สวนดุสิต คว้า 2 รางวัลจากผลงานสารสีชีวภาพจาก Monascus purpureus สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสี

🎊 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอแสดงความยินดีกับ นางสาววนิดา สีวิสาร นางสาวรัชนีกร จั่นสกุล นางสาวสุมินตรา บุพศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คว้า 2 รางวัล ได้แก่ รางวัล Popular vote และรางวัลเหรียญเงิน 🥈 จากผลงานสารสีชีวภาพจาก Monascus purpureus สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสี ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม I New Gen Award 2023 ภายใต้งาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2566 ณ Event Hall 100 – 102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2566✨ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฤทธิพันธ์ รุ่งเรืองอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินที่มีจุลินทรีย์ที่สามารถละลายโพแทสเซียมในดินได้และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เลขที่อนุสิทธิบัตร 20498 จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์มีลักษณะเป็นสารเสริมการเติบโตของพืช ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณ ซิลิกาสูง อาทิเช่น แกลบข้าว ฟางข้าว ฯ นำมาผ่านกระบวนการที่ทำให้มีขนาดอนุภาคเล็กระดับนาโน ทำให้พืชดูดซึมไปใช้ได้ง่าย โดยนาโนซิลิคอน (Nano-SiO2) ที่ละลายน้ำ อยู่ในดินในรูปกรดซิลิสิก (Si(OH)4) จะเข้าไปสะสมที่ลำต้นและใบพืช อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลึกของกรดซิลิเกต (silicate) เคลือบเป็นเกล็ดแข็งที่ผนังเซลล์พืช ทำให้ต้นและใบแข็งแรง ลดการคายน้ำผ่านผิวเคลือบคิวติน (cutin) จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นอกจากนี้ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ที่จะมากัดกินต้นพืชสามารถนำไปใช้กับพืชทุกชนิด รวมถึงพืชเศรษฐกิจที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับต้นและใบ

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.จันทรัสจ์ วุฒิสัตย์วงศ์กุล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.จันทรัสจ์ วุฒิสัตย์วงศ์กุล ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน กรรมวิธีการผลิตแผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากวัสดุเส้นใยจากธรรมชาติ เลขที่อนุสิทธิบัตร 20543 จุดเด่นของการประดิษฐ์ กรรมวิธีการผลิตแผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากวัสดุเส้นใยจากธรรมชาตินี้ เป็นการนำใบสับปะรดซึ่งเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาทำเป็นแผ่นทำความเย็นแบบระเหย โดยปรับปรุงสมบัติเชิงกลขณะเปียกของกระดาษจากใบสับปะรดโดยใช้พอลิเมอร์กลุ่มเทอร์โมเซตติ้งแทนการใช้สาร wet strength resin กลุ่มฟอร์มาลดีไฮด์ซึ่งเป็นพิษ โดยที่แผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากใบสับปะรดมีสมบัติใกล้เคียงกับแผ่นทำความเย็นแบบระเหยเชิงพาณิชย์ การนำใบสับปะรดมาทำเป็นแผ่นทำความเย็นแบบระเหยไม่ได้เป็นเพียงการลดปริมาณขยะและอนุรักษ์ป่าไม้เท่านั้น แต่ยังเป็นเพิ่มมูลค่าให้กับใบสับปะรดอีกด้วย

Translate »