ทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี เสด็จเยี่ยมและติดตามผลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ของเขตบางพลัด และทรงเปิดชมรมและศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและเขตบางพลัด

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณะผู้บริหารคณาจารย์เจ้าหน้าที่และนักศึกษา เฝ้ารับเสด็จทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญาสิริวัฒนาพรรณวดี ทรงเป็นประธานเปิดชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจ TO BE NUMBER ONE มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและเขตบางพลัด เพื่อขยายการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจ เป็นศูนย์กลางในการจัดกิจกรรมของศูนย์เพื่อนใจให้แก่เยาวชนในพื้นที่เขตบางพลัด โดยสร้างการมีส่วนร่วมของเยาวชนในเขตพื้นที่ให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ตามแนวคิด“ปรับทุกข์สร้างสุขแก้ปัญหาพัฒนา EQ” อาทิ กิจกรรมการเต้น COVER กิจกรรมการร้องเพลง กิจกรรมการแสดง กิจกรรมอบรมการเป็นพิธีกร กิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด กิจกรรมจิตอาสาบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวม กิจกรรมฝึกอาชีพพัฒนาผู้เรียน ทั้งนี้มีนักเรียนโรงเรียนในสังกัด สพฐ.  สช.และกรุงเทพมหานครเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 17 โรงเรียน ร่วมกับนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ณ อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ  ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มสด. ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท ซีเชอร์ จำกัด

ผศ.ดร. วิชชา  ฉิมพลี  คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท ซีเชอร์ จำกัด  ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายชัยธนา  ไชยมงคล กรรมการผู้จัดการบริษัท เป็นประธานร่วมลงนาม  เพื่อสร้างเครือข่ายบริการวิชาการแก่สาธารณชนผู้สนใจในการจัดอบรมหลักสูตรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยกว่า 20 หลักสูตร ทั้งนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ประธานหลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย  ผู้อำนวยการศูนย์สิ่งแวดล้อม ผู้จัดการสำนักงานบริการอาคารวิทยาศาสตร์ มสด. และคณะผู้บริหาร บริษัท ซีเชอร์ จำกัด ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนาม    ณ ห้องประชุม คณะพยาบาลศาสตร์  ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ยสวนดุสิต วันที่ 2 สิงหาคม 2562

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับกองพัฒนานักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมกิจกรรมบูรณาการปรับปรุงภูมิทัศน์ บำเพ็ญประโยชน์ตัดกิ่งไม้ ทำความสะอาด กับสำนักงานเขตดุสิต และศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสา “เราทำความดีด้วยหัวใจ”

เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว (๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒) ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๒ รองศาสตราจารย์พัชรี สวนแก้ว รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต นำอาจารย์ พนักงาน และนักศึกษา ร่วมกิจกรรมบูรณาการปรับปรุงภูมิทัศน์ บำเพ็ญประโยชน์ตัดกิ่งไม้ ทำความสะอาด กับสำนักงานเขตดุสิต และศูนย์อำนวยการใหญ่โครงการจิตอาสา “เราทำความดีด้วยหัวใจ” ในวันเสาร์ที่ ๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ ณ วัดราชาธิวาส เขตดุสิต

ประชุมกองบรรณาธิการวารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Journal of Science Innovation for Sustainable Development: JSISD)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในการประชุมกองบรรณาธิการวารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Journal of Science Innovation for Sustainable Development: JSISD) โดยมีกองบรรณาธิการภายนอก ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.ชิดชนก เหลือสินทรัพย์ ศาสตราจารย์ ดร.ปิยะ  โควินท์ทวีวัฒน์ รองศาสตราจารย์ ดร.ณสรรค์  ผลโภค และรองศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ  หมั่นสกุล ในวันที่ 18 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุมชั้น 2 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร

ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่า สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับศิษย์เก่าสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้แก่ นายชวัลวิทย์ อธิคมวรพันธ์ ได้รับรางวัลผลงานนวัตกรรมด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย จากผลงานแคลมป์มิเตอร์สติ๊ก และนายชนะ วรรณพุก ได้รับรางวัลจากกิจกรรม การรณรงค์ลดสถิติอุบัติเหตุจากการทำงานให้เป็นศูนย์ ในงานความปลอดภัยและอาชีวอนามัยแห่งชาติ ครั้งที่ 33  จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 กรกฎาคม 2562 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพมหานคร

ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ฤทธิพันธ์  รุ่งเรือง ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชมเชย ประจำปี 2562

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ฤทธิพันธ์  รุ่งเรือง อาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ได้รับรางวัลนักวิจัยรุ่นใหม่ สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับชมเชย ประจำปี 2562  ในงาน 2nd ASEIS 2019 and 4th PRN-CON เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2562 ณ ห้องประชุมธนาพิทักษ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

มีข่าวดีมาบอก เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ประจำปีการศึกษา 2562 ระบบ TCAS รอบที่ 5

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เปิดรับสมัครนักศึกษาระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ประจำปีการศึกษา 2562 ระบบ TCAS รอบที่ 5 รับตรงอิสระ   พี่ๆ รอน้องๆ มาร่วมเป็นพี่น้องอะตอมอยู่นะคะ กระซิบบอกว่า รอบ 5 นี้ รับจำนวนจำกัดนะคะ อย่าช้า รีบมาสมัครระว่างวันที่ 30 พ.ค. – 10 มิ.ย. 62 รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านได้ที่  http://entrance.dusit.ac.th/page/direct.html      

Admission โค้งสุดท้าย การรับสมัครนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ประจำปีการศึกษา 2562

การรับสมัครนักศึกษา ระดับปริญญาตรี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประจำปีการศึกษา 2562 รอบสุดท้าย 4 หลักสูตร หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ   เกณฑ์การคัดเลือก   เว็บไซต์ของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (วิทยาเขตสุพรรณบุรี)   เกณฑ์การคัดเลือก  เว็บไซต์ของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย   เกณฑ์การคัดเลือก  เว็บไซต์ของหลักสูตร หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์   เกณฑ์การคัดเลือก   เว็บไซต์ของหลักสูตร ข้อมูลรอบ Admission http://entrance.dusit.ac.th/page/admission.html

อบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำ Individual plan for Professional Development

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำ Individual plan for Professional Development โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สุรินทร์ พงศ์ศุภสมิทธิ์ เป็นวิทยากร ในวันที่ 26 เมษายน 2562 เวลา 8.00-17.00 น. ณ ห้อง 401 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมประกวดนวัตกรรมการวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ในงาน “The 47th International Exhibition of Inventions Geneva”

“มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สร้างชื่อเสียงระดับโลก” จากการเข้าร่วมประกวดนวัตกรรมการวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ในงาน “The 47th International Exhibition of Inventions Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส โดยได้รับรางวัล 2 เหรียญทอง และ 2 เหรียญเงิน จากผลงานวิจัยด้านนวัตกรรมเครื่องสำอางที่ใช้นวัตกรรมการสกัดแบบ Ultrasonic มาสกัดกล้วยไม้ไทยเป็น “ออร์คิด เอสเซน บูสเตอร์ แอนไทน์ เอจจิ้ง พลัส” และการ Encapsulation ด้วย biopolymer มาเป็นโฟมล้างหน้าสมุนไพรชนิดผง “เคอคูมา คลีนซิ่ง แคปซูล” โดย อาจารย์ ฤทธิพันธ์ รุ่งเรือง คณะวิทยาศาสตร์ฯ ได้รับเหรียญทองทั้งสองนวัตกรรมและเป็นผลงานนวัตกรรมด้านเครื่องสำอางเพียง 2 ชิ้นในงานที่ได้รับเหรียญทองถือเป็นความภาคภูมิใจของไทยเป็นอย่างมาก และนวัตกรรมด้านอาหารได้เหรียญเงิน ทั้ง 2 ชิ้นงาน ได้แก่ การใช้เทคนิค encapsulate ระดับโมเลกุลกับ Lycopene ทำให้ได้เป็น นวัตกรรมแป้งต้านอนุมูลอิสระ

Translate »