การอบรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการเพื่อเข้าประกวด “เคมีย่อส่วน” (Small-Scale Chemistry Laboratory)

ฝ่ายอบรมวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ร่วมกับ ศูนย์ปฏิบัติการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ จัดอบรมเตรียมความพร้อมด้านวิชาการเพื่อเข้าประกวด “เคมีย่อส่วน” (Small-Scale Chemistry Laboratory) วันเสาร์ที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ ห้อง 503 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยากรหลักประกอบด้วย 1. ดร.วันดี สิริธนา 2. ผศ.ดุสิต อังธารารักษ์ 3. ผศ.ดร.วิภา ทัพเชียงใหม่ อบรมในหัวข้อ 1. สาธิตและฝึกปฏิบัติ การทดลอง เรื่อง โครมาโตรกราฟี 2. สาธิตและฝึกปฏิบัติ การทดลอง เรื่อง ฝนกรด 3. สาธิตและฝึกปฏิบัติ การทดลอง เรื่อง pH อินดิเคเตอร์

พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)ระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและ โรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล”

พิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)ระหว่าง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและ โรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล”วันพุธที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ เวลา ๙.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.ณ ห้องประชุมลำพอง ๓ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต๑. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดี๒. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีฝ่ายบริหาร โรงเรียนโรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล”๑. นายอภิรักษ์ กงทอง ผู้อำนวยการโรงเรียนท่าเรือ “นิตยานุกูล”๒. นางสาวทารินทร์ นาคสร้อย รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารวิชาการ

ผลงานนวัตกรรมสกินแคร์สารสกัดจากยอดอ่อนและดอกทุเรียน โดย ผู้ศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ ทองตัน

ผลงานนวัตกรรมสกินแคร์สารสกัดจากยอดอ่อนและดอกทุเรียน โดย ผู้ศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ ทองตัน อาจารย์นักวิจัย หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับ บริษัท ทิพย์สุรัตน์ จำกัด ผู้ก่อตั้งแบรนด์ Durrianar By SQ (ดูร์เรียนาร์ บาย เอสคิว) ได้รับรางวัล Creator Awards ประจำปี 2023 ในรอบสุดท้าย ในโครงการความร่วมมือขับเคลื่อนนวัตกรรมสำหรับประเทศในงาน Thailand Synergy เพื่อ SMEs ไทย และพิธีประกาศผลและมอบรางวัลสุดยอดนวัตกรรม 7 INNOVATION AWARDS 2023 ปีที่ 10 ณ ภีรัชฮอลล์ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 31 สิงหาคม 2566

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดรับสมัครนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดรับสมัครนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2567รอบที่ 1 Portfolio วันที่ 2 สิงหาคม 2566 – 18 มกราคม 2567สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ 02-244-5555 และ https://tcas.dusit.ac.th สาขา TCAS67 #2567 #dusit #suandusit #sdu #มสด #สวนดุสิต #มหาวิทยาลัยสวนดุสิต #คณะวิทย์ #คณะวิทยาศาสตร์ #คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ Science in Action for Chemical Engineering (ครั้งที่ 2) วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2566

ภาพกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ Science in Action for Chemical Engineering วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม 2566 ณ ห้อง 304 ชั้น 3 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต จำนวน 44 คน เข้าร่วมกิจกรรม ภายใต้การกำกับนักเรียนของอาจารย์อนุสรา สุขสุคนธ์ อาจารย์จุฑารัตน์ เกาะหวาย อาจารย์ชลิตา บุญรักษา และอาจารย์มยุรินทร์ บุตรเพ็ชร โดยทีมวิทยากร ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิราภรณ์ ทองตัน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดุสิต อังธารารักษ์ อาจารย์ศิววิทย์

โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Science in Action for Chemical Engineering (ครั้งที่ 1) วันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยฝ่ายความร่วมมือและโครงการพิเศษ ร่วมกับ ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ได้จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการ Science in Action for Chemical Engineering ให้กับ โรงเรียนวชิรธรรมสาธิต ซึ่งเป็นโรงเรียนเครือข่าย MOU ของคณะวิทยาศาสตร์ฯ โดยได้รับเกียรติจาก รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ กิจทวี กล่าวเปิดงาน ทีมวิทยากร ได้แก่ ผศ.ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ผศ.ดร.จิราภรณ์ ทองตัน ผศ.ดุสิต อังธารารักษ์ อ.ศิววิทย์ บัวสุวรรณ ดร.วันดี สิริธนา ผศ.ดร.มณชัย เดชสังกรานนท์ และ ดร.วีรชน ภูหินกอง ซึ่งจัดเป็นครั้งที่ (1) เมื่อวันศุกร์ที่ 23 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ (ถนนสิรินธร) โดยมีนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ระดับชั้น ม.5 จำนวน 40

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติคัดเลือกผลงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมจัดแสดงในงาน “The 48th International Exhibition of Invention Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติคัดเลือกผลงานวิจัยและนวัตกรรมมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมจัดแสดงในงาน “The 48th International Exhibition of Invention Geneva” ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส  นำโดย รศ.ดร.ชนะศึก นิชานนท์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาการศึกษา ผศ.ดร.ยุธยา อยู่เย็น ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และทีมนักวิจัย ทั้งนี้จากการพิจารณารางวัลในงานดังกล่าว มหาวิทยาลัยสวนดุสิตสามารถคว้ารางวัลจำนวนรวมทั้งสิ้น 8 รางวัล ประกอบด้วย รางวัลเชิดชูเกียรติ 2 รางวัล รางวัลเหรียญทอง 1 รางวัล รางวัลเหรียญเงิน 1 รางวัล และรางวัลเหรียญทองแดง 4 รางวัล จากผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่นำไปจัดแสดงทั้งสิ้น 6 ผลงาน ได้แก่ ผลงาน “สารดับเพลิงผงเคมีแห้งจากวัสดุชีวภาพเหลือใช้ทางการเกษตร” และผลงาน “นาโนเซลลูโลสอิมัลชันยืดอายุผักผลไม้ที่สามารถบริโภคได้ จากผลพลอยได้ในกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม” โดย​ ผศ.ดร.ณัฐบดี​ วิริยาวัฒน์​ ผลงาน “สารสีชีวภาพจาก Monascus spp. สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสี” และผลงาน “นวัตกรรมการผลิตสารออกฤทธิ์เชิงหน้าที่จากเซลล์ว่านเพชรหึงสำหรับใช้ในเวชสำอาง” โดย

ประชุมคณะสื่อมวลชน (Blogger & Infuencer) ระดมสมองเพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลนำเสนอการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวชิงวัฒนธรรมอาหารอยุธยาเมืองมรดกโลกเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power)

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี สวนเพลง อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดประชุมคณะสื่อมวลชน (Blogger & Infuencer) ระดมสมองเพื่อพัฒนาสื่อดิจิทัลนำเสนอการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การท่องเที่ยวชิงวัฒนธรรมอาหารอยุธยาเมืองมรดกโลกเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนซอฟต์พาวเวอร์ (Soft Power) เมื่อวันอังคารที่ 2 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุมลิขิต 2 โรงแรมสวนดุสิตเพลส ขอบคุณภาพข่าวจาก: ฝ่ายประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

กิจกรรมการลงพื้นที่เพื่อดำเนินการพัฒนาการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวกล้วยเล็บมือนางในวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ ศูนย์การศึกษานครนายก ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการพัฒนาการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวกล้วยเล็บมือนาง ในวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566 ณ โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรปลอดภัย และนันทนาการ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อ ๑. ดำเนินการพัฒนาวัสดุปลูกคุณภาพสูง โดย ผศ.ดร.รุงเกียรติ แกวเพชร ดำเนินการโดยใช้วัสดุเหลือทิ้งจากศูนย์การเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย เศษใบมะม่วง เศษใบไผ่ และมูลโค เริ่มจากเศษใบมะม่วง ๓ ส่วน มูลโค ๑ ส่วน ใบไผ่ ๒ ส่วน วางทับกันเป็นชั้น ๆ ระหว่างชั้นรดน้ำให้ชุ่ม รวมสูงประมาณ ๑ เมตร ฐานเส้นผ่านศูนย์กลางยาว ๑ เมตร ให้ศูนย์ฯ ดำเนินการรดน้ำทุกวัน และทำการเจาะรูกองวัสดุปลูก เติมน้ำลงรูให้ชุ่มและปิดรูทุก ๆ๗ วัน ใช้ระยะเวลาทั้งหมดรวม ๖๐ วัน ๒. ติดตามแปลงปลูกกล้วย โดย

ภาพกิจกรรมการอบรม โครงการ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลเด็ก” ณ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก

ภาพกิจกรรมการอบรม โครงการ “การปฐมพยาบาลเบื้องต้นสำหรับผู้ดูแลเด็ก” ณ โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษานครนายก โดยวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการพยาบาล อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ได้แก่ ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ผศ.ดร.ชฎามาศ ขาวสะอาด อาจารย์สุวิทย์ นำภาว์ อาจารย์เยาวเรศ ส่วนบุญ หัวข้อการบรรยายและฝึกปฏิบัติ บรรยายตระหนักรู้ความปลอดภัยเด็กกับการปฐมพยาบาล อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเด็กมีไข้สูง มีโอกาสเสี่ยงเกิดการชัก เกร็ง อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดอุบัติเหตุ บาดแผลเปิด บาดแผลปิด ในเด็ก อบรมเชิงปฏิบัติการการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีมีสิ่งอุดกั้นระบบทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหารในเด็ก หน่วยงานรับผิดชอบ: ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ / คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี / ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ / คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ภาพถ่ายโดย : คุณกษมา ซำอ๊วง #sdu#science#มสด#สวนดุสิต#คณะวิทย์สวนดุสิต#ศูนย์การศึกษานครนายก#โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ#อนุบาล#ครู#ผู้ดูแลเด็ก#ปฐมพยาบาล#พยาบาล#อาหารติดคอ#ทำแผล#CPR

Translate »