ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร ปิดทำการชั่วคราว

ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร ปิดทำการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 5-7 กรกฎาคม 2564 เพื่อทำความสะอาด ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ ภายในและพื้นที่ส่วนกลาง ป้องกันการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019(COVID 19)

poll talk ep.37 : ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดโควิด-19

poll talk ep.37 : ความมั่นใจของคนไทยต่อการฉีดโควิด-19 โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต  

ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง การปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 (ฉบับที่ 7/2564)

ประกาศมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เรื่อง การปิดมหาวิทยาลัยเป็นการชั่วคราว เนื่องจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 หรือ COVID-19 (ฉบับที่ 7/2564) www.dusit.ac.th/2021/895276.html

วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วารสารนวัตกรรมวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เป็นวารสารวิชาการที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ในลักษณะนิพนธ์ต้นฉบับ (Original Article) นิพนธ์ปริทัศน์ (Review Article) และบทวิจารณ์หนังสือ (Book Review) เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมด้านสิ่งแวดล้อม, อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, วิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ, วิทยาการคอมพิวเตอร์ และสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการแนะนำหนังสือที่น่าสนใจทางด้านนวัตกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/JSISD/

ขอเชิญเข้าร่วมอบรม “การประยุกต์ใช้เครื่องมือวัดปริมาณโลหะหนัก และ Total Organic (TOC) ในงานสิ่งแวดล้อม”

ขอเชิญบุคลากร/นักศึกษา ศิษย์เก่า และบุคคลทั่วไป ที่สนใจเข้าอบรม เครื่องมือขั้นสูง จัดโดย คณะวิทยาศาสตร์ฯ และ บริษัทอนาไลติก เยน่า ในวันที่ 28 เมษายน 2564 เวลา 08.30-15.00 ณ Hall2 ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหวิทยาลัยสวนดุสิต สมัครได้เลยตั้งแต่วันนี้ครับ รับเพียง 50ท่านเท่านั้น !!!! ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย หมายเหตุ : ทุกท่านที่เข้าอบรมครบจะได้รับใบประกาศ ทุกท่าน และมีโอกาสได้เยี่ยมชมและวิเคราะห์ตัวอย่าง กับบริษัท อนาไลติกเยน่า สามารถสมัครได้ตามลิ้งนี้ Click

หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการ AUCC 2021

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับรางวัลจากการนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการ AUCC 2021 รางวัลระดับ Very Good 1 กลุ่ม  และรางวัลระดับ Good 4 กลุ่ม นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้ส่งตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมนำเสนอผลงาน ในงานประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย    ครั้งที่ 9 (The 9th Asia Undergraduate Conference on Computing : AUCC) ระหว่างวันที่ 25 – 26  กุมภาพันธ์ 2564 โดยการนำเสนอผลงานด้วยคลิปวิดีโอ และถามตอบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ Zoom meeting โดยผลรางวัลที่นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ ได้เข้าร่วมนำเสนอผลงานในงานประชุมวิชาการ AUCC2020 ทั้งหมด 8 กลุ่ม เป็นบทความทั้งหมด 8 กลุ่ม ซึ่งได้รับรางวัล 5 กลุ่ม —

ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ธานินทร์ สิทธิวิรัชธรรม

  ขอแสดงความยินดีกับศาสตราจารย์ธานินทร์ สิทธิวิรัชธรรม ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตร์

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ การเปลี่ยนฟางข้าว (ของเหลือทิ้งในนาข้าว) เป็นปุ๋ยอินทรีย์ในลักษณะปุ๋ยหมักโดย ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย บทคัดย่อ การเผาฟางข้าวเป็นวิธีการจัดการฟางข้าวที่เกษตรผู้ทานาส่วนใหญ่ของประเทศไทยนิยมใช้จัดการฟางข้าวหลังการเก็บเกี่ยว เนื่องจากสะดวก รวดเร็ว ต้นทุนต่า และประกอบกับความเชื่อบางประการเรื่องการฆ่าเชื้อโรคในดิน แต่การจัดการฟางข้าวด้วยวิธีการดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ และมลพิษทางดิน ซึ่งเป็นปัญหามลพิษทั้งในระดับพื้นที่ และระดับโลก การผลักดันให้จัดการฟางข้าวโดยการเปลี่ยนฟางข้าวเป็นปุ๋ยอินทรีย์ในลักษณะของปุ๋ยหมัก จึงเป็นแนวทางหนึ่งในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าวแล้วได้ จากสมบัติของฟางข้าวสามารถนามาหมักเพื่อผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์ได้ ซึ่งปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการผลิตปุ๋ยหมัก ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างคาร์บอนต่อไนโตรเจน (C/N ratio) ขนาดของวัสดุ ขนาดของความสูงของกองหมัก อุณหภูมิ ความชื้นปริมาณอากาศหรือออกซิเจน ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) จุลินทรีย์ที่เกี่ยวข้องในกองปุ๋ย ระยะเวลาที่ต้องการสาหรับกระบวนการหมัก และสารเร่งชนิดอื่น ๆ ดาวน์โหลด (Download)   บทความวิชาการ เรื่องขยะชุมชน: การจัดการและผลกระทบโดยปารินดา สุขสบาย และ สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย บทคัดย่อ ปัญหาขยะมูลฝอยชุมชนของประเทศไทย (Municipal solid waste) นับว่าเป็นปัญหาสำคัญที่อยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนานเนื่องจากมีปริมาณการผลิตขยะที่เพิ่มขึ้นทุกปี ในปี 2561 มีปริมาณขยะมูลฝอยเกิดขึ้น

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้ารับรางวัล Green Youth

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำนักศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม และสาขาสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม เข้ารับรางวัล ผลการดำเนินกิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อมของเยาวชนภายในมหาวิทยาลัย (green youth) ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ.2562 ระดับทอง จากกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม  

Translate »