องปฏิบัติการผลิตเครื่องสำอาง หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เป็นห้องปฏิบัติการรูปแบบ pilot plant

ห้องปฏิบัติการผลิตเครื่องสำอาง หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เป็นห้องปฏิบัติการรูปแบบ pilot plant สำหรับใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาในการปฏิบัติงานจริง รวมทั้งการบริการวิชาการและให้คำปรึกษากับผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชุน โดยคณาจารย์ภายในหลักสูตร ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง และการผลิตเครื่องสำอางตามมาตรฐาน GMP

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดำเนินการประชุมคณะกรรมการ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (ในรูปแบบออนไลน์)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้มีการประชุมคณะกรรมการ การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ (ในรูปแบบออนไลน์) เมื่อวันที่  6 เมษายน 2563  เวลา  10.00 น. ถึง 12.00 น. โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานการประชุม  โดยคณบดีได้มอบหมายให้ประธานหลักสูตรดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับติดตามและดูแลการจัดการศึกษาออนไลน์ ระดับหลักสูตร เพื่อตรวจสอบและติดตามการจัดการเรียนการสอนและวัดประเมินผลของนักศึกษา ให้มีประสิทธิภาพ และจัดทำรายงานเสนอมายังคณบดี ในวันที่ 13 เมษายน 2563      

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมเสวนาเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม “โครงการวิจัยท้าทายไทย กลุ่มกระบวนการยุติธรรมรองรับ 4.0”

โรงเรียนนายร้อยตำรวจและสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ หรือ วช. จัดการเสวนาเพื่อการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการยุติธรรม “โครงการวิจัยท้าทายไทย กลุ่มกระบวนการยุติธรรมรองรับ 4.0” แผนงานวิจัยเพื่อพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมทางกฎหมาย นิติวิทยาศาสตร์ และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ในกระบวนการยุติธรรม เพื่อแก้ไขปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรมและการบริหารงานยุติธรรม โดยมีการนำเสนอผลงานวิจัยที่น่าสนใจจำนวน 15 โครงการ ใน 3 ด้าน คือด้านนวัตกรรมทางกฎหมาย 6 โครงการ, นวัตกรรมทางนิติวิทยาศาสตร์ 4 โครงการ, และนวัตกรรมด้านฐานข้อมูล 5 โครงการ ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง รองผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานกล่าวเปิดการเสวนาพร้อมทั้งปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “บทบาทของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกับการแก้ไข ปัญหาเร่งด่วนของการอำนวยความยุติธรรมและการบริหารงานยุติธรรมสำหรับเด็กและเยาวชน” โดยมี ศาสตราจารย์ พลตำรวจตรีหญิง ดร.พัชรา สินลอยมา ผู้บริหารจัดการโครงการวิจัย (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิสภามหาวิทยาลัยสวนดุสิต) กล่าวสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม ซึ่งมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้รับทุนวิจัยโครงการดังกล่าว ทั้งหมด 2 โครงการ โดย รศ.ดร.ธนภัทร ปัจฉิมม์ คณบดีโรงเรียนกฎหมายและการเมือง ได้ศึกษาการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมทางกฎหมาย นิติวิทยาศาสตร์  และฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรม ในกรอบการวิจัยที่ 1 ด้านนวัตกรรมทางกฎหมาย ในหัวข้อ “ศึกษาผลสัมฤทธิ์กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ ในชั้นสอบสวนคดีเด็กและเยาวชน Study of

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้รับรางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย

นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าร่วมนำเสนองานวิจัย ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ครั้งที่ 1 ประจำปี 2563 ณ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563  ทั้งนี้งานวิจัยเรื่อง การออกแบบและพัฒนาชุดทดลอง เรื่อง การชนใน 2 มิติร่วมกับการจัดการเรียนการสอนบรรยายแบบสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์  โดยนางสาวศรัญญา  เพียงคาม และนางสาวกิตติยา  วารุรัตน์  นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับรางวัลระดับดี    และงานวิจัยเรื่องการออกแบบและพัฒนาชุดการทดลอง เรื่องโมเมนตัมและการชนในหนึ่งมิติกับการจัดการเรียนการสอนแบบบรรยายสาธิตเชิงปฏิสัมพันธ์ โดย นางสาวดาริกา ชาสงวน และนางสาวกชทัศ  สืบชาติ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้รับรางวัลระดับชมเชย โดยงานวิจัยทั้ง 2 เรื่องมีอาจารย์ตระกูล  รัมมะฉัตร เป็นที่ปรึกษา    

หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรมค่ายเพื่อพัฒนาทักษะฯโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน

คณาจารย์ นักศึกษา หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตร่วมกับคณะครูโรงเรียนมักกะสันพิทยา จัดค่ายเพื่อพัฒนาทักษะฯโดยใช้ปัญหาเป็นฐานให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 จำนวน 200 คน เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพนักศึกษาเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวเปิดงานโครงการพัฒนาความร่วมมือเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กิจกรรมที่ 4 การอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการประกันคุณภาพนักศึกษาเครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 มหาวิทยาลัย โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ เป็นวิทยากรให้ความรู้ด้านการประกันคุณภาพนักศึกษา เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้อง Hall 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมกิจกรรม “รักษ์โลก รักษ์ต้นไม้ รักศูนย์วิทยาศาสตร์”เพื่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่ดีของผู้ที่อยู่ภายในศูนย์วิทยาศาสตร์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เข้าร่วมโครงการ “รักษ์โลก รักษ์ต้นไม้ รักศูนย์วิทยาศาสตร์”เพื่อสุขภาพและสภาพแวดล้อมที่ดีของผู้ที่อยู่ภายในศูนย์วิทยาศาสตร์ โดยปลูกต้นไม้ฟอกอากาศ ดูดสารมลพิษ อาทิ ต้นไทรใบสัก ต้นคล้าหางนกยูง และเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียว ตามแนวทางการดำเนินโครงการสำนักงานสีเขียว (Green office) และมุ่งสู่การเป็นมหาวิทยาลัยที่สวยสะอาด และใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Green & Clean University) ตามนโยบายของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาฯ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร

ผศ.ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมวิชาการปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 8 (The 8th Asia Undergraduate Conference on Computing: AUCC 2020) และ The 1st Asia Joint Conference on Computing : AJCC 2020

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดย ผศ.ดร.วิชชา ฉิมพลี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมพร้อมทั้งกล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดการประชุมวิชาการปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชียครั้งที่ 8 (The 8th  Asia Undergraduate Conference on Computing: AUCC 2020) และ The 1st Asia Joint Conference on Computing : AJCC 2020 เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยสำหรับคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป   ซึ่งในปีนี้การประชุมวิชาการ AUCC2020 มีผู้สนใจจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ส่งบทความเข้าร่วมนำเสนอปากเปล่า จำนวน 321 บทความ และการประชุมวิชาการ AJCC2020 จำนวน 21 บทความ  ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ณรงค์  ศิริเลิศวรกุล  ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้แทนรัฐมนตรีกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)  เป็นประธานเปิดงาน  พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “AI เพื่อการพัฒนาประเทศไทย” นอกจากนี้  ไฮไลท์สำคัญของการจัดงาน คือ การรับฟังบรรยายพิเศษจาก Mr. Roy

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการใหม่ 35 สถาบัน สำหรับการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย The Asia Undergraduate Conference on Computing: AUCC และ The Asia Joint Conference on Computing: AJCC

ดร.สวงค์ บุญปลูก รองอธิการบดีฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ ประธานในพิธี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี พร้อมด้วย คณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการใหม่ 35 สถาบัน สำหรับการประชุมวิชาการระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์ภูมิภาคเอเชีย The Asia Undergraduate Conference on Computing: AUCC และ The Asia Joint Conference on Computing: AJCC เพื่อเป็นเวทีนำเสนอผลงานวิจัยสำหรับคณาจารย์ นิสิต นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา นักวิชาการ นักวิจัย และบุคคลทั่วไป ณ อาคารรักตะกนิษฐ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 https://www.youtube.com/watch?v=ARqLXRA84ek

กีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8 “จันทรา เกม”

ด้วย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้เข้าร่วมกีฬาสานสัมพันธ์เครือข่ายคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 9 มหาวิทยาลัย ครั้งที่ 8 “จันทรา เกม” โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2563 ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม ทั้งนี้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากร นักศึกษา และเป็นการส่งเสริมการเล่นกีฬาเพื่อสุขภาพให้กับนักศึกษา และจัดการประกวดทูตวัฒนธรรมเครือข่ายฯ ในครั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 จำนวน 4 ชนิดกีฬา ดังนี้ ชักกะเยอ เปตองคู่ผสม สแต็ค และ E-SPORT (POBG)

Translate »