ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินที่มีจุลินทรีย์ที่สามารถละลายโพแทสเซียมในดินได้และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เลขที่อนุสิทธิบัตร 20498 จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์มีลักษณะเป็นสารเสริมการเติบโตของพืช ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณ ซิลิกาสูง อาทิเช่น แกลบข้าว ฟางข้าว ฯ นำมาผ่านกระบวนการที่ทำให้มีขนาดอนุภาคเล็กระดับนาโน ทำให้พืชดูดซึมไปใช้ได้ง่าย โดยนาโนซิลิคอน (Nano-SiO2) ที่ละลายน้ำ อยู่ในดินในรูปกรดซิลิสิก (Si(OH)4) จะเข้าไปสะสมที่ลำต้นและใบพืช อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลึกของกรดซิลิเกต (silicate) เคลือบเป็นเกล็ดแข็งที่ผนังเซลล์พืช ทำให้ต้นและใบแข็งแรง ลดการคายน้ำผ่านผิวเคลือบคิวติน (cutin) จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นอกจากนี้ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ที่จะมากัดกินต้นพืชสามารถนำไปใช้กับพืชทุกชนิด รวมถึงพืชเศรษฐกิจที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับต้นและใบ

กิจกรรม KM “สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน Cooperative and WorkIntegrated Education: CWIE “

กิจกรรม KM “สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน Cooperative and WorkIntegrated Education: CWIE “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันอังคารที่ 10 ม.ค.66 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องออนไลน์ 03 และออนไลน์ผ่านโปรแกรม MS Teams วิทยากร ผศ.ชูติวรรณ บุญอาชาทอง และ ผศ.ดร.ชานุ โพธิพิทักษ์

การให้องค์ความรู้ เพื่อสอบในการต่อสัญญาพนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุน)

การให้องค์ความรู้ เพื่อสอบในการต่อสัญญาพนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุน) วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ 13 มกราคม 2566 เวลา 15.00 – 16.00 น. ณ ห้องออนไลน์ 03 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารเฉลิมพระเกียรติ ห้อง 404 ชั้น 4 (ถนนสิรินธร) และผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams จัดโดย : สภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.จันทรัสจ์ วุฒิสัตย์วงศ์กุล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.จันทรัสจ์ วุฒิสัตย์วงศ์กุล ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน กรรมวิธีการผลิตแผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากวัสดุเส้นใยจากธรรมชาติ เลขที่อนุสิทธิบัตร 20543 จุดเด่นของการประดิษฐ์ กรรมวิธีการผลิตแผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากวัสดุเส้นใยจากธรรมชาตินี้ เป็นการนำใบสับปะรดซึ่งเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาทำเป็นแผ่นทำความเย็นแบบระเหย โดยปรับปรุงสมบัติเชิงกลขณะเปียกของกระดาษจากใบสับปะรดโดยใช้พอลิเมอร์กลุ่มเทอร์โมเซตติ้งแทนการใช้สาร wet strength resin กลุ่มฟอร์มาลดีไฮด์ซึ่งเป็นพิษ โดยที่แผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากใบสับปะรดมีสมบัติใกล้เคียงกับแผ่นทำความเย็นแบบระเหยเชิงพาณิชย์ การนำใบสับปะรดมาทำเป็นแผ่นทำความเย็นแบบระเหยไม่ได้เป็นเพียงการลดปริมาณขยะและอนุรักษ์ป่าไม้เท่านั้น แต่ยังเป็นเพิ่มมูลค่าให้กับใบสับปะรดอีกด้วย

ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวจิตรวดี ตั้งหิรัญรัตน์ และคณะ หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอแสดงความยินดีกับ นางสาวจิตรวดี ตั้งหิรัญรัตน์ และคณะ หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร ในผลงาน “สูตรมายองเนสที่มีส่วนผสมสารสกัดข้าวเหนียวดำ” จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์นี้เป็นการพัฒนาสูตรมายองเนสที่มีส่วนผสมสารสกัดข้าวเหนียวดำที่มีส่วนผสมของสารสกัดข้าวเหนียวดำ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นานขึ้นสารสกัดข้าวเหนียวดำช่วยลดปริมาณค่าเปอร์ออกไซด์และป้องกันการหืนในผลิตภัณฑ์ได้ดี ช่วยเพิ่มคุณประโยชน์ให้กับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้กับพืชเศรษฐกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ทดแทนสารกันหืนสังเคราะห์ได้

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค หลักสูตรเทคโนโลยีเคมี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค หลักสูตรเทคโนโลยีเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อการประดิษฐ์ องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เลขที่อนุสิทธิบัตร 20303

กิจกรรม “หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อทุกชีวีในสวนดุสิตปลอดภัย”

ศูนย์เครื่องมือปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดกิจกรรม “หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อทุกชีวีในสวนดุสิตปลอดภัย” วันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 09.30-11.30 น. ณ 189 คาเฟ่ ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ ชั้น 1 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุขุม เฉลยทรัพย์ ประธานที่ปรึกษาอธิการบดี เป็นประธานเปิดกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมอบรม ทั้งสิ้น 32 ท่านโดยวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญ ได้แก่ 1) ผศ.ดร.ชฎามาศ ขาวสะอาด 2) อาจารย์สุวิทย์ นำภาว์ 3) ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกายกิจกรรมประกอบด้วย – ตระหนักรู้ความปลอดภัยในการทำงานกับการปฐมพยาบาล – การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีอาหารติดลำคอ – การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดบาดแผลเลือดออกตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ขอบคุณภาพถ่ายจาก อาจารย์ทินกร ชุณหภัทรกุล และผู้ช่วยศาสตราจารย์อรศิริ ศิลาสัย

ขอเชิญร่วมกิจกรรม “หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อทุกชีวีในสวนดุสิตปลอดภัย”

“ปลอดภัยไว้ก่อน ท่านจะได้รับความรู้และทักษะจากการลงมือปฏิบัติจริง ที่พิเศษสุด”คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเชิญร่วมกิจกรรม “หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้นเพื่อทุกชีวีในสวนดุสิตปลอดภัย”วันที่ 23 ธันวาคม 2565 เวลา 09.30-11.30 น. ณ 189 คาเฟ่ ศูนย์พัฒนาทุนมนุษย์ ชั้น 1 รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 22 ธันวาคม 2565 (รับจำนวนจำกัด 30 ท่าน) ค่าลงทะเบียน 300 บาท (พร้อมรับของที่ระลึกและเครื่องดื่มฟรี 1 แก้ว) ท่านได้รับความรู้และทักษะจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญจากท่านวิทยากร 3 ท่าน ได้แก่1. ผศ.ดร.ชฎามาศ ขาวสะอาด2. อาจารย์สุวิทย์ นำภาว์3. ผศ.ดร.สิรวัลย์ เรืองช่วย ตู้ประกาย กิจกรรม – ตระหนักรู้ความปลอดภัยในการทำงานกับการปฐมพยาบาล – การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีอาหารติดลำคอ – การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในกรณีเกิดบาดแผลเลือดออกตามจุดต่างๆ ของร่างกาย ติดต่อ : คุณอรวรินทร์   โทร : 099-080-4036 เลขบัญชีชำระค่าลงทะเบียนผ่านบัญชี ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ เลขบัญชี

การอบรมปฏิบัติการ ในหัวข้อ “การสร้างเว็บไซต์ง่าย ๆ ด้วย WiX “

ฝ่ายพัฒนาสมรรถนะทางด้านดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐา ผิวมา และ คณะกรรมการฝ่ายฯ ได้จัดโครงการ Upskill & Reskill เพื่อพัฒนาทักษะด้านการใช้ดิจิทัล ผ่านการอบรมปฏิบัติการ ในหัวข้อ “การสร้างเว็บไซต์ง่าย ๆ ด้วย WiX ” โดยมีวิทยากรคือ ผศ.นภัสศรัณย์ ชัชวาลานนท์ เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2565 เวลา 9.00 – 12.00 น. ออนไลน์ผ่านระบบ MS Teams ทั้งนี้เพื่อเป็นการ Upskill ให้กับ บุคลากรและนักศึกษา สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้ต่อไป

Translate »