ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยนุช พรมภมร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยนุช พรมภมร สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยนุช พรมภมร สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์
การอบรมหลักสูตรทักษะด้านดิจิทัล สำหรับนายทหารชั้นประทวน รุ่นที่ 4 ในหลักสูตรกำหนดให้มีการฝึกอบรม วิชา การใช้ดิจิทัล เพื่อการทำงานร่วมกัน ความมั่นคงทางไซเบอร์ (Cyber Security) ระยะเวลาการอบรม ตั้งแต่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 – 1 มีนาคม 2566 ณ โรงเรียนทหารสื่อสาร กรมการทหารสื่อสาร โดยมีผู้รับการฝึกอบรม จำนวน 34 นาย โดยมีวิทยากร คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า และอาจารย์ณรงค์ฤทธิ์ ภิรมย์นก
ฝ่ายความร่วมมือและโครงการพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ฯ จัดโครงการ Happy Science Happy University กรณีศึกษา : เทคนิคการจัดการความเครียด ในวันพฤหัสบดีที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.45 – 14.15 น. วิทยากรโดย ผศ.ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.ณัฐกฤตา ฟลอเรนไทน์ และ ผศ.ดร.สิรวัลภ์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ออนไลน์ผ่าน MS Teams
🎊 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอแสดงความยินดีกับ นางสาววนิดา สีวิสาร นางสาวรัชนีกร จั่นสกุล นางสาวสุมินตรา บุพศิริ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิต คว้า 2 รางวัล ได้แก่ รางวัล Popular vote และรางวัลเหรียญเงิน 🥈 จากผลงานสารสีชีวภาพจาก Monascus purpureus สำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางแต่งสี ในการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม I New Gen Award 2023 ภายใต้งาน “วันนักประดิษฐ์” ประจำปี 2566 ณ Event Hall 100 – 102 ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 2 – 6 กุมภาพันธ์ 2566✨ อาจารย์ที่ปรึกษา: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ฤทธิพันธ์ รุ่งเรืองอาจารย์ประจำหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำคณะผู้บริหารและบุคลากร เข้าร่วมพิธี “เทศน์มหาชาติเวสสันดรชาดก” เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช 2566 ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปึหลวงในวโรกาสทรงเจริญพระชนมพรรษา 90 พรรษา ในปีพุทธศักราช 2565 และสมทบทุนการศึกษาให้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ โดยคณะวิทยาศาสตร์ฯ เป็นเจ้าภาพร่วมกับ ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร และสถาบันภาษา ศิลปะและวัฒนธรรม และสวนดุสิตโฮมเบเกอรี่ ในกัณฑ์ที่ 12 กัณฑ์ฉกษัตริย์ 36 พระคาถา แสดงโดย พระมหาเรวัตร อาวุธปญโญ วัดทองนพคุณ ในวันที่ 20 มกราคม 2566 ณ หอประชุมรักตะกนิษฐ ชั้น 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้ประกอบการใหม่ (Start-up Entrepreneur 5.0) ในรูปแบบ Video on Demand (30 ชั่วโมง) เหมาะสำหรับนักศึกษา บัณฑิตศิษย์เก่า และ ผู้สนใจเป็นผู้ประกอบการใหม่ อบรมตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 15 มีนาคม 2566 สนใจ ลงทะเบียน ฟรี ได้ที่ https://forms.gle/YXrYt8KhPvcygPci7 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ หล่อพันธ์มณี มือถือ 097-123-0067 ผศ.นภัสศรัณย์ ชัชวาลานนท์ มือถือ 094-562-6265
ภาพบรรยากาศการประชุมบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ปีการศึกษา 2566 วันที่ 12 มกราคม 2566 เวลา 8.30 – 12.00 น. ณ Hall 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษาฯ โดยมี รศ.ดร.ศิโรจน์ ผลพันธิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานเปิดการประชุมและมอบนโยบาย ให้กับบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ฯ ขอขอบคุณ ถ่ายภาพ โดย อาจารย์ตระกูล รัมมะฉัตร
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินที่มีจุลินทรีย์ที่สามารถละลายโพแทสเซียมในดินได้และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เลขที่อนุสิทธิบัตร 20498 จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์มีลักษณะเป็นสารเสริมการเติบโตของพืช ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณ ซิลิกาสูง อาทิเช่น แกลบข้าว ฟางข้าว ฯ นำมาผ่านกระบวนการที่ทำให้มีขนาดอนุภาคเล็กระดับนาโน ทำให้พืชดูดซึมไปใช้ได้ง่าย โดยนาโนซิลิคอน (Nano-SiO2) ที่ละลายน้ำ อยู่ในดินในรูปกรดซิลิสิก (Si(OH)4) จะเข้าไปสะสมที่ลำต้นและใบพืช อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลึกของกรดซิลิเกต (silicate) เคลือบเป็นเกล็ดแข็งที่ผนังเซลล์พืช ทำให้ต้นและใบแข็งแรง ลดการคายน้ำผ่านผิวเคลือบคิวติน (cutin) จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นอกจากนี้ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ที่จะมากัดกินต้นพืชสามารถนำไปใช้กับพืชทุกชนิด รวมถึงพืชเศรษฐกิจที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับต้นและใบ
กิจกรรม KM “สหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน Cooperative and WorkIntegrated Education: CWIE “คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วันอังคารที่ 10 ม.ค.66 เวลา 10.00 – 12.00 น. ณ ห้องออนไลน์ 03 และออนไลน์ผ่านโปรแกรม MS Teams วิทยากร ผศ.ชูติวรรณ บุญอาชาทอง และ ผศ.ดร.ชานุ โพธิพิทักษ์