คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ ศูนย์การศึกษานครนายก ลงพื้นที่เพื่อดำเนินการพัฒนาการปลูก การดูแล และการเก็บเกี่ยวกล้วยเล็บมือนาง ในวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม 2566 ณ โครงการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้เกษตรปลอดภัย และนันทนาการ จังหวัดปราจีนบุรี เพื่อ
- ดำเนินการพัฒนาวัสดุปลูกคุณภาพสูง โดยใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในพื้นที่มาพัฒนาเป็นวัสดุปลูกเพื่อปรับปรุงคุณภาพการปลูก
- ติดตามแปลงปลูกกล้วย โดยสำรวจพื้นที่การปลูกปอเทือง เพื่อปรับสภาพดิน
- กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกี่ยวกับจุลินทรีย์ ในน้ำหมัก
- เก็บตัวอย่างน้ำหมัก วิเคราะห์จุลินทรีย์
- การดำเนินงานเกษตรปลอดภัย
- แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจัดทำโครงการอนุรักษ์พันธ์พืชท้องถิ่น ในปีงบประมาณต่อไป โดยทางศูนย์ฯ เป็นผู้เขียนโครงการ คณะวิทย์ฯ สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการ
๑. ดำเนินการพัฒนาวัสดุปลูกคุณภาพสูง โดย ผศ.ดร.รุงเกียรติ แกวเพชร ดำเนินการโดยใช้วัสดุเหลือทิ้งจากศูนย์การเรียนรู้ฯ ประกอบด้วย เศษใบมะม่วง เศษใบไผ่ และมูลโค เริ่มจากเศษใบมะม่วง ๓ ส่วน มูลโค ๑ ส่วน ใบไผ่ ๒ ส่วน วางทับกันเป็นชั้น ๆ ระหว่างชั้นรดน้ำให้ชุ่ม รวมสูงประมาณ ๑ เมตร ฐานเส้นผ่านศูนย์กลางยาว ๑ เมตร ให้ศูนย์ฯ ดำเนินการรดน้ำทุกวัน และทำการเจาะรูกองวัสดุปลูก เติมน้ำลงรูให้ชุ่มและปิดรูทุก ๆ
๗ วัน ใช้ระยะเวลาทั้งหมดรวม ๖๐ วัน
๒. ติดตามแปลงปลูกกล้วย โดย ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย ยอดมีกลิ่น ดำเนินการปลูกปอเทือง เพื่อปรับคุณภาพดินแปลงปลูก อายุ ๔๐ วัน สูงโดยเฉลี่ย ๑.๑ เมตร คาดว่าอีกประมาณ ๑๐ วัน จะออกดอก และจะดำเนินการไถกลบ เพื่อเตรียมแปลงปลูกต่อไป และวางแผนดำเนินการจัดหาหน่อกล้วย
๓. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรูเกี่ยวกับจุลินทรีย์ในน้ำหมัก โดย ผศ.ดร. ศรีสุดา สมัยใหม่ ถ่ายทอดองความรู้ในการ คัดเลือก แยก ทำให้บริสุทธิ์ ของจุลินทรีย์จากจอมปลวก ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ๑๗ คน สิ่งที่จะดำเนินการต่อ ขอใช้พื้นที่ของศูนย์ฯ เพื่อทดสอบการใช้จุลินทรีย์ในการเพิ่มผลผลิตพืช
๔. เก็บตัวอย่างน้ำหมักจากมะม่วง จาก ศูนย์ฯ เพื่อวิเคราะห์จุลินทรีย์ต่อไป
๕. การดำเนินงานเกษตรปลอดภัย แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับ ผศ.ดร.มงคลชัย บุญแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษา นครนายก โดยทาง ศูนย์ฯ จะดำเนินการประสานผู้เกี่ยวข้องในจังหวัดปราจีนบุรี คณะวิทย์ฯ ดำเนินการหาข้อมูลทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งต่อไป