เปิดรับสมัครหลักสูตรอบรม “Chat GPT ใช้อย่างไรให้เพิ่มศักยภาพและความเร็วในการทำงาน 10X”

มีหลักสูตรดีๆ มาแนะนำค่ะ🎯🎯Chat GPT ใช้อย่างไรให้เพิ่มศักยภาพและความเร็วในการทำงาน 10Xจัดโดย ฝ่าายพัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตท่านใดสนใจสมัครได้นะคะลิงก์สมัคร shorturl.at/iBFNS

ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยนุช พรมภมร

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยนุช พรมภมร สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการผู้ช่วยศาสตราจารย์

ขอเชิญเข้าร่วมอบรม หลักสูตร ผู้ประกอบการใหม่ (Start-up Entrepreneur 5.0)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญเข้าร่วมอบรม หลักสูตร ผู้ประกอบการใหม่ (Start-up Entrepreneur 5.0) ในรูปแบบ Video on Demand (30 ชั่วโมง) เหมาะสำหรับนักศึกษา บัณฑิตศิษย์เก่า และ ผู้สนใจเป็นผู้ประกอบการใหม่ อบรมตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 15 มีนาคม 2566 สนใจ ลงทะเบียน ฟรี ได้ที่ https://forms.gle/YXrYt8KhPvcygPci7 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ 1. ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ หล่อพันธ์มณี มือถือ 097-123-0067 2. ผศ.นภัสศรัณย์ ชัชวาลานนท์ มือถือ 094-562-6265

ขอเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้ประกอบการใหม่ (Start-up Entrepreneur 5.0) ในรูปแบบ Video on Demand (30 ชั่วโมง)

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอเชิญเข้าร่วมอบรมหลักสูตรผู้ประกอบการใหม่ (Start-up Entrepreneur 5.0) ในรูปแบบ Video on Demand (30 ชั่วโมง) เหมาะสำหรับนักศึกษา บัณฑิตศิษย์เก่า และ ผู้สนใจเป็นผู้ประกอบการใหม่ อบรมตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ถึง 15 มีนาคม 2566 สนใจ ลงทะเบียน ฟรี ได้ที่ https://forms.gle/YXrYt8KhPvcygPci7 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ผศ.ดร.ศิริลักษณ์ หล่อพันธ์มณี มือถือ 097-123-0067 ผศ.นภัสศรัณย์ ชัชวาลานนท์ มือถือ 094-562-6265

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สุรชาติ สินวรณ์ และ ผศ.ดร.ณัฐบดี วิริยาวัฒน์ หลักสูตรอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน ผลิตภัณฑ์ปรับปรุงดินที่มีจุลินทรีย์ที่สามารถละลายโพแทสเซียมในดินได้และกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว เลขที่อนุสิทธิบัตร 20498 จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์มีลักษณะเป็นสารเสริมการเติบโตของพืช ที่ผลิตจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณ ซิลิกาสูง อาทิเช่น แกลบข้าว ฟางข้าว ฯ นำมาผ่านกระบวนการที่ทำให้มีขนาดอนุภาคเล็กระดับนาโน ทำให้พืชดูดซึมไปใช้ได้ง่าย โดยนาโนซิลิคอน (Nano-SiO2) ที่ละลายน้ำ อยู่ในดินในรูปกรดซิลิสิก (Si(OH)4) จะเข้าไปสะสมที่ลำต้นและใบพืช อย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดผลึกของกรดซิลิเกต (silicate) เคลือบเป็นเกล็ดแข็งที่ผนังเซลล์พืช ทำให้ต้นและใบแข็งแรง ลดการคายน้ำผ่านผิวเคลือบคิวติน (cutin) จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นทำให้ผลผลิตพืชสูงขึ้นอกจากนี้ช่วยป้องกันแมลงศัตรูพืช ที่จะมากัดกินต้นพืชสามารถนำไปใช้กับพืชทุกชนิด รวมถึงพืชเศรษฐกิจที่ต้องการเสริมความแข็งแรงให้กับต้นและใบ

การให้องค์ความรู้ เพื่อสอบในการต่อสัญญาพนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุน)

การให้องค์ความรู้ เพื่อสอบในการต่อสัญญาพนักงานมหาวิทยาลัย (สายสนับสนุน) วิทยากร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันที่ 13 มกราคม 2566 เวลา 15.00 – 16.00 น. ณ ห้องออนไลน์ 03 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาคารเฉลิมพระเกียรติ ห้อง 404 ชั้น 4 (ถนนสิรินธร) และผ่านระบบออนไลน์ Microsoft Teams จัดโดย : สภาคณาจารย์และพนักงาน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

SDU SCI-TECH Openhouse 2023

วันเสาร์ที่ 7 มกราคม 2566 เวลา 9.00 – 12.00 น. นี้เรามีนัดกันในงาน SDU SCI-TECH Openhouse 2023 เปิดบ้านคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ทั้งทางช่องทาง Zoom Meeting และ Facebook Live นะครับ สามารถเข้าร่วม Zoom Meeting โครงการเปิดบ้านวิทยาศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2566 Join Zoom Meeting https://dusit-ac-th.zoom.us/j/91993323034… Meeting ID: 919 9332 3034 Passcode: sdu ในงานพบกับกิจกรรมมากมาย ทั้งแนะนำกิจกรรม หลักสูตร และร่วมเล่นเกมรับรางวัลที่ระลึก

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.จันทรัสจ์ วุฒิสัตย์วงศ์กุล

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.จันทรัสจ์ วุฒิสัตย์วงศ์กุล ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อผลงาน กรรมวิธีการผลิตแผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากวัสดุเส้นใยจากธรรมชาติ เลขที่อนุสิทธิบัตร 20543 จุดเด่นของการประดิษฐ์ กรรมวิธีการผลิตแผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากวัสดุเส้นใยจากธรรมชาตินี้ เป็นการนำใบสับปะรดซึ่งเป็นของเหลือทิ้งทางการเกษตรมาทำเป็นแผ่นทำความเย็นแบบระเหย โดยปรับปรุงสมบัติเชิงกลขณะเปียกของกระดาษจากใบสับปะรดโดยใช้พอลิเมอร์กลุ่มเทอร์โมเซตติ้งแทนการใช้สาร wet strength resin กลุ่มฟอร์มาลดีไฮด์ซึ่งเป็นพิษ โดยที่แผ่นทำความเย็นแบบระเหยจากใบสับปะรดมีสมบัติใกล้เคียงกับแผ่นทำความเย็นแบบระเหยเชิงพาณิชย์ การนำใบสับปะรดมาทำเป็นแผ่นทำความเย็นแบบระเหยไม่ได้เป็นเพียงการลดปริมาณขยะและอนุรักษ์ป่าไม้เท่านั้น แต่ยังเป็นเพิ่มมูลค่าให้กับใบสับปะรดอีกด้วย

ขอแสดงความยินดีกับ นางสาวจิตรวดี ตั้งหิรัญรัตน์ และคณะ หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขอแสดงความยินดีกับ นางสาวจิตรวดี ตั้งหิรัญรัตน์ และคณะ หลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร ในผลงาน “สูตรมายองเนสที่มีส่วนผสมสารสกัดข้าวเหนียวดำ” จุดเด่นของการประดิษฐ์ การประดิษฐ์นี้เป็นการพัฒนาสูตรมายองเนสที่มีส่วนผสมสารสกัดข้าวเหนียวดำที่มีส่วนผสมของสารสกัดข้าวเหนียวดำ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ เมื่อระยะเวลาการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นานขึ้นสารสกัดข้าวเหนียวดำช่วยลดปริมาณค่าเปอร์ออกไซด์และป้องกันการหืนในผลิตภัณฑ์ได้ดี ช่วยเพิ่มคุณประโยชน์ให้กับผลิตภัณฑ์และเพิ่มมูลค่าให้กับพืชเศรษฐกิจให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นและสามารถนำไปใช้ทดแทนสารกันหืนสังเคราะห์ได้

ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค หลักสูตรเทคโนโลยีเคมี

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.พรพัสนันท์ เดชประสิทธิโชค หลักสูตรเทคโนโลยีเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ประดิษฐ์ที่ได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทอนุสิทธิบัตร ชื่อการประดิษฐ์ องค์ประกอบผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เลขที่อนุสิทธิบัตร 20303

Translate »