คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอแสดงความยินดีกับ ผศ.ดร.สิรวัลย์ เรืองช่วย ตู้ประกาย ที่ได้รับการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ประเภทอนุสิทธิบัตร
ชื่อผลงาน เครื่องอัดเม็ดเชื้อเพลิงแข็งระบบไฟกระแสสลับร่วมน้ำมันเชื้อเพลิง
ชื่อผลงาน เครื่องอัดเม็ดเชื้อเพลิงแข็งระบบไฟกระแสสลับร่วมน้ำมันเชื้อเพลิง
ณ ห้องHall 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ และพื้นที่รอบศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร
ภาพบรรยากาศการประกวด Sci Star Contest 2024 ณ ห้องHall 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร
การไหว้ครู เป็นพิธีกรรมที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ ที่แสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความสำนึกในพระคุณของท่าน ซึ่งนักเรียนต้องนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปสักการบูชาครูเพื่อแสดงตนขอเป็นศิษย์
รองศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี ประธานหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมงานแถลงข่าวในโครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลกรด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ระยะที่ 2″กิจกรรมการเปิดตัวสถาบันวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ(Thailand National Cyber Academy: THNCA)ความก้าวหน้าการพัฒนากับบุคลากรทุกช่วงวัยและก้าวต่อไป”เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับสังคมและเศรษฐกิจไทยในยุคดิจิทัล สร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนรวมทั้งการฝึกอบรมพัฒนากับบุคลากร ตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติการจนถึงระดับผู้บริหารเพื่อให้ตอบโจทย์การป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมพระศิวะ ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่นเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567
มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ นางสาวดวงพร ธีรภาพไพสิฐ ตำแหน่ง Head of Innovation, Research & Development And High Value Business เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีผู้บริหาร และบุคลากรจากสองหน่วยงานเข้าร่วมในพิธี ณ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอรยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิตร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม “กิจกรรมสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ส่วนภูมิภาค ประจำปี 2567” โดยมี ผศ.ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีฝ่ายบริหารคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวรายงาน และได้รับเกียรติจาก ดร.วรานี เวสสุนทรเทพ รองอธิการบดีฝ่ายวิทยาเขตสุพรรณบุรี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวเปิดกิจกรรม ภายในงานมีนิทรรศการมีการออกบูธของคณะวิทยาศาสตร์ การประกวดการแข่งขันต่างๆ เช่น การประกวดการแสดงทางวิทยาศาสตร์ การแข่งขันตอบปัญหาทางวิทยาศาสตร์ การประกวดวาดภาพ เป็นต้น โดยกิจกรรมจัดขึ้นในวันที่ 18 สิงหาคม 2567 ณ อาคารจันทร์เจริญ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี
เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน – 9 สิงหาคม 2567 ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ผ่านการอบรม หลักสูตรการพัฒนานักบริหารมหาวิทยาลัย สายวิชาการระดับสูง (นบม.) รุ่นที่ 31 ภายใต้มโนทัศน์ “การแข่งขันภายใต้บรรยากาศของความร่วมมือ”ทั้งในประเทศไทย ราชอาณาจักรเดนมาร์ก และราชอาณาจักรสวีเดน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีรักษาการแทนคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาเข้าร่วมพิธีถวายพระพรชัยมงคล พิธีถวายสัตย์ปฏิญาณเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน และพิธีทำบุญตักบาตรถวายเป็นพระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 72 พรรษา 28 กรกฎาคม 2567 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานในพิธี ณ หอประชุมรักตะกนิษฐ ชั้น 2 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567
หลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดการบรรยาย หัวข้อ Cyber Security ในยุคที่ข้อมูลคือสินทรัพย์ กับความต้องการในตลาดแรงงาน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและลูกค้าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เป็นประธานเปิดงาน โดยก่อนเริ่มการบรรยายได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.สุระสิทธิ์ ทรงม้า รองคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงนโยบายการพัฒนาหลักสูตร และการใช้ทรัพยากรร่วมกันของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รศ.ดร.วิชชา ฉิมพลี ประธานหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ กล่าวถึงแนวทางการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ จากนั้นเป็นการบรรยาย หัวข้อ Cyber Security ในยุคที่ข้อมูลคือสินทรัพย์ กับความต้องการในตลาดแรงงาน โดยได้รับเกียรติจาก พลอากาศตรีอมร ชมเชย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์แห่งชาติ (สกมช.) เป็นวิทยากร โดยมีอาจารย์ บุคลากร นักศึกษา มหาวิทยาลัยสวนดุสิต พร้อมด้วย ครู นักเรียนจากโรงเรียนเครือข่ายความร่วมมือให้ความสนใจเข้าร่วมรับฟังการบรรยาย ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และออนไลน์ผ่านระบบ Zoom วันจันทร์ที่ 8