ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาร่วมแสดงมุฑิตาจิตแด่ ดร.ชวาลศักดิ์ เพชรจันทร์ฉาย ผศ.ดร.ศักดิ์ชัย ยอดมีกลิ่น เกษียณอายุราชการ และ ผศ.ดร.ประวรดา โภชนจันทร์ ย้ายไปปฎิบัติราชการ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ วันพุธที่ 25 กันยายน 2567 เวลา 16.00 – 18.00 น. ณ พื้นที่ Co-working space ชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ ถนนสิรินธร มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

ผอ.โรงเรียนเศรษฐเสถียร นำทีมแชมป์ Coding War ระดับประเทศ เข้าขอบคุณรองอธิการฝ่ายวิชาการและกิจการต่างประเทศ จากความร่วมมือสนับสนุนด้านวิชาการของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และเตรียมจับมือปั้นน้อง ๆ ผู้พิการทางการได้ยิน ให้มีการศึกษาอย่างเท่าเทียม และประสบความสำเร็จในเวทีโลก

ดร.ปนัดดา วงค์จันตา ผู้อำนวยการโรงเรียนเศรษฐเสถียร ในพระบรมราชูปถัมภ์ นำทีมน้องนักเรียนเจ้าของรางวัลชนะเลิศ ระดับมัธยมศึกษา ในการแข่งขัน Coding War สมรภูมิประชันไอเดียโค้ดดิ้ง ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ภายใต้โครงการ Coding Thailand for Better Life และจะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันโค้ดดิ้งระดับนานาชาติในงาน Seoul International Invention Fair 2024 (SIIF 2024) ณ สาธารณรัฐเกาหลี ในเดือนพฤศจิกายนนี้ เข้าขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ และกิจการต่างประเทศ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ในการให้การสนับสนุนทางวิชาการและเป็นที่ปรึกษาจนประสบความสำเร็จ พร้อมหารือด้านความร่วมมือส่งอาจารย์ร่วมดูแลการเตรียมทีมเข้าแข่งขันในระดับนานาชาติ และการส่งต่อน้องนักเรียนผู้พิการทางการได้ยินซึ่งมีความสนใจและมีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี เนื่องจากเห็นถึงศักยภาพและการให้โอกาสการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับผู้พิการในการของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ซึ่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรชณิตว์ และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ยินดีที่จะร่วมพัฒนาศักยภาพน้อง ๆ จากโรงเรียนเศรษฐเสถียร พร้อมชื่นชมในความสามารถที่แม้จะพิการทางการได้ยินและสื่อสารด้วยภาษามือ แต่สามารถนำเสนอไอเดียและ Coding ออกมาจนคว้ารางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันที่มีทีมจากทั่วประเทศกว่า 1,500 ทีมร่วมแข่งขัน ณ วันที่

ม.สวนดุสิต จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยกับ มจพ. และบริษัท เข็มเหล็ก จำกัด

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จัดพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยสวนดุสิต กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และบริษัท เข็มเหล็ก จำกัด โดย ผศ.ดร.ฐิตินาถ สุคนเขตร์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต กล่าวรายงานถึงความเป็นมาของการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) จากนั้นเป็นการกล่าวแสดงเจตนารมณ์ และลงนามความร่วมมือ โดยผู้บริหารจาก 3 หน่วยงานได้แก่ ผศ.ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและกิจการต่างประเทศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผศ.ดร.พรศักดิ์ ศรีสังสิทธิสันติ ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศส และคุณประเสริฐ ธรรมมนุญกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท เข็มเหล็ก จำกัด ภายหลังพิธีลงนามความร่วมมือมีการบรรยายพิเศษในหัวข้อ Green construction โดยคุณประเสริฐ ธรรมมนุญกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท เข็มเหล็ก จำกัด และบรรยายพิเศษในหัวข้อ การดักจับฝุ่นด้วยเทคโนโลยี โดย ศ.ดร.จันทรพร ผลากรกุล อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือพิธีลงนามความร่วมมือทางวิชาการและการวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยสวนดุสิต กับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และบริษัท เข็มเหล็ก จำกัด จัดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อความร่วมมือในการถ่ายทอดเทคโนโลยี องค์ความรู้ ประสบการณ์ และร่วมพัฒนางานวิจัยในด้านการออกแบบงานก่อสร้างและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศไทย

กิจกรรมเชื่อมสัมพันธ์พี่น้องยุคใหม่ Style Next Normal 14 กันยายน 2567

ณ ห้องHall 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ และพื้นที่รอบศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร

การประกวด Sci Star Contest 2024

ภาพบรรยากาศการประกวด Sci Star Contest 2024 ณ ห้องHall 2 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา มหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ถนนสิรินธร

กิจกรรมไหว้ครู คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปีการศึกษา 2567

การไหว้ครู  เป็นพิธีกรรมที่นิยมปฏิบัติมาแต่สมัยโบราณ ที่แสดงความเคารพสักการบูชาครูบาอาจารย์ด้วยความสำนึกในพระคุณของท่าน ซึ่งนักเรียนต้องนำดอกไม้ ธูป เทียน ไปสักการบูชาครูเพื่อแสดงตนขอเป็นศิษย์

โครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลกรด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ระยะที่ 2

รองศาสตราจารย์ ดร.วิชชา ฉิมพลี ประธานหลักสูตรความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ร่วมงานแถลงข่าวในโครงการเร่งรัดการพัฒนาบุคลกรด้านความปลอดภัยไซเบอร์ ระยะที่ 2″กิจกรรมการเปิดตัวสถาบันวิชาการความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ(Thailand National Cyber Academy: THNCA)ความก้าวหน้าการพัฒนากับบุคลากรทุกช่วงวัยและก้าวต่อไป”เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยให้กับสังคมและเศรษฐกิจไทยในยุคดิจิทัล สร้างความตระหนักรู้ให้กับประชาชนรวมทั้งการฝึกอบรมพัฒนากับบุคลากร ตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติการจนถึงระดับผู้บริหารเพื่อให้ตอบโจทย์การป้องกันภัยคุกคามไซเบอร์ที่ซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ณ ห้องประชุมพระศิวะ ชั้น 3 โรงแรมอัศวิน แกรนด์ คอนเวนชั่นเขตหลักสี่ กรุงเทพฯ วันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิทักษ์ จันทร์เจริญ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ นางสาวดวงพร ธีรภาพไพสิฐ ตำแหน่ง Head of Innovation, Research & Development And High Value Business เป็นผู้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ โดยมีผู้บริหาร และบุคลากรจากสองหน่วยงานเข้าร่วมในพิธี ณ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานตั้งอยู่เลขที่ 555/1 ศูนย์เอนเนอรยี่คอมเพล็กซ์ อาคารเอ ชั้น 11 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2567 การลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมหาวิทยาลัยสวนดุสิต โดยหลักสูตรวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

Translate »