มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เดิมชื่อ “โรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือน” เป็น โรงเรียนการเรือนแห่งแรกของประเทศไทย สังกัดกองอาชีวศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ เปิดดำเนินกิจการครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2477  ที่วังกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งในปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตพณิชยการ พระนคร โดยทีความมุ่งหมายเพื่ออบรมการบ้านการเรือนสำหรับสตรีหลักสูตร 3 ปี

  • พ.ศ. 2480 ได้ย้ายมาอยู่ที่วังจันทรเกษม ( กระทรวงศึกษาธิการในปัจจุบัน ) และเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนมัธยมวิสามัญการเรือนมาเป็น “ โรงเรียนการเรือนวังจันทรเกษม ” โดยสังกัดกองและกรมเดิม
  • พ.ศ. 2548  ได้ย้ายจากวังจันทร์เกษมมาตั้งอยู่ในบริเวณวังสุนันทาบนพื้นที่ประมาณ 37 ไร่  ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยฯ ในปัจจุบันและเปลี่ยนชื่อเป็น  “โรงเรียนการเรือนพระนคร”  และได้ย้ายสังกัดจากกรมอาชีวศึกษาไปสังกัดกองฝึกหัดครูกรมสามัญศึกษา
  • พ.ศ. 2504  กระทรวงศึกษาธิการประกาศยกฐานะโรงเรียนการเรือนพระนครเป็นวิทยาลัยครูและเปลี่ยนชื่อเป็น “วิทยาลัยครูสวนดุสิต”  ในสมัยที่เป็นวิทยาลัยครู  ได้มีการแบ่งหน่วยงานที่จัดการเรียนการสอนโดยเรียกว่า คณะวิชา  ได้แก่  คณะวิชาครุศาสตร์  คณะวิชา เป็นอาคาร 2 ชั้น มีห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์อยู่ 3 ห้อง  คือ ห้องปฏิบัติการเคมี 1 ห้อง (อยู่ชั้นล่าง)  เป็นห้องสำนักงานและห้องพักอาจารย์รวมกัน  ส่วนห้องปฏิบัติการชีววิทยาและห้องปฏิบัติการฟิสิกส์อยู่ชั้นบน  ชั้นบนมีห้องพักอาจารย์ชีววิทยา 1 ห้องขนาดเล็ก  (อาจารย์เตือนใจ  ชัยอินคำและอาจารย์ถนัด  ศรีบุญเรือง)  ศูนย์หนังสือในปัจจุบันเมื่อก่อนเป็นห้องสมุดมีบันไดในห้องสมุดสำหรับขึ้นชั้น 2
  • พ.ศ. 2518  เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา วิชาเอกคหกรรมศาสตร์  เป็นปีแรก  โดยจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะครุศาสตร์
  • พ.ศ. 2521  เปิดสอนระดับปริญญาตรีหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต  วิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป  โดยจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะครุศาสตร์และเปิดสอนตามโครงการอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษาประจำการ (อคป.) โปรแกรมพัฒนาสมรรถภาพครู 7 โปรแกรม คือ  ภาษาไทย  สังคมศึกษา  การศึกษาพิเศษ  วิทยาศาสตร์ทั่วไป  คหกรรมศาสตร์  การอนุบาลศึกษา  และศิลปศึกษา  เป็นรุ่นแรก
  • พ.ศ. 2522  เปิดสอนหลักสูตร ป.กศ.ชั้นสูง คือ อุตสาหกรรมศิลป์ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาครุศาสตร์  2 ปีหลัง  เพิ่มอีก 5 วิชาเอก รวมเป็น 9 วิชาเอก คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ศิลปศึกษา วิทยาศาสตร์ทั่วไป  สังคมศึกษา การประถมศึกษา คหกรรมศาสตร์การอนุบาลศึกษา และการศึกษาพิเศษ  เปิดสอน อคป. รุ่นที่ 2    รวม 9 โปรแกรม เพิ่มเติมจากเดิม 2 โปรแกรม คือ ภาษาอังกฤษ และคณิตศาสตร์
  • พ.ศ. 2526    เปิดสอนหลักสูตร ป.กศ. ซึ่งสำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ (สปช.) ส่งมาเรียนเปิดสอนระดับ ป.กศ. ชั้นสูงเทคนิคอาชีพ (ภาคสมทบ) รวม 3 วิชาเอก คือ วารสารและการประชาสัมพันธ์  การอาหารและ ศิลปะประดิษฐ์
  • พ.ศ. 2527 เปิดสอน อคป.รุ่นที่ 7  ระดับปริญญาตรีครุศาสตร์ 7 โปรแกรม คือ คหกรรมศาสตร์ สังคมศึกษา การอนุบาลศึกษา การประถมศึกษา ศิลปศึกษา การบริหารการศึกษาและการแนะแนว ระดับ ป.กศ. ชั้นสูง รวม 5 โปรแกรม คือ ภาษาอังกฤษ สุขศึกษา สังคมศึกษา คหกรรมศาสตร์และการอนุบาลศึกษา
  • พ.ศ. 2528  หลังจากที่ได้แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2527 ให้วิทยาลัยสามารถเปิดสอนสายวิชาการอื่นได้ นอกเหนือจากสายวิชาชีพครู วิทยาลัยจึงเริ่มเปิดสอนสายวิชาการอื่นเป็นครั้งแรกในระดับอนุปริญญาก่อน คือ อนุปริญญาศิลปศาสตร์ และอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ รวม 6 วิชาเอก คือ วารสารและการประชาสัมพันธ์ ภาษาอังกฤษ การอาหาร ผ้า และเครื่องแต่งกาย ศิลปประดิษฐ์ และออกแบบนิเทศศิลป์ รวมทั้งได้เปิดรับนักศึกษาชายเป็นสหศึกษาเป็นครั้งแรกด้วย เปิดสอน อคป. รุ่นที่ 8 เป็นรุ่นสุดท้ายระดับปริญญาตรีครุศาสตร์ รวม 6 โปรแกรม คือ สังคมศึกษา คหกรรมศาสตร์ การอนุบาลศึกษา ศิลปศึกษา การบริหารการศึกษา และการแนะแนว ระดับ ป.กศ.ชั้นสูง รวม 5 โปรแกรม คือ สังคมศึกษา คหกรรมศาสตร์ การอนุบาลศึกษา ศิลปศึกษา และนาฎศิลป์ โดยรองศาสตราจารย์ลำพอง บุญช่วย ดำรงตำแหน่งอธิการในขณะนั้น
  • พ.ศ. 2529  เปิดสอนระดับศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) 4 ปี วิชาเอกภาษาอังกฤษ เป็นรุ่นแรก และเปิดสอนระดับอนุปริญญาศิลปศาสตร์และอนุปริญญาวิทยาศาสตร์ รวม 6 วิชา คือ วารสารและการประชาสัมพันธ์ ภาษาอังกฤษธุรกิจ การอาหาร ผ้าและเครื่องแต่งกาย ศิลปประดิษฐ์ และการออกแบบนิเทศศิลป์ ระดับ ป.กศ.ชั้นสูง 5 วิชาเอก คือ สังคมศึกษา คหกรรมศาสตร์ การอนุบาลศึกษา สุขศึกษา และพลศึกษา ระดับ ค.บ. 2 ปีหลัง  9 วิชาเอก คือ สังคมศึกษา ศิลปศึกษา เกษตรศาสตร์ การอนุบาลศึกษา พลศึกษา คหกรรมศาสตร์ การแนะแนว การประถมศึกษาและการบริหารการศึกษา
  • พ.ศ. 2530 เปิดสอนวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี สาขาสถิติประยุกต์  เป็นครั้งแรกที่คณะวิทยาศาสตร์  เปิดสอนหลักสูตร 4 ปี
  • พ.ศ. 2531 เปิดสอนระดับอนุปริญญาวิทยาศาสตร์เพิ่มอีก 2 วิชาเอก คือ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและคอมพิวเตอร์ ระดับ วท.บ.4 ปี วิชาเอกคหกรรมศาสตร์ทั่วไป ระดับ วท.บ. 2 ปีหลัง วิชาเอก  คหกรรมศาสตร์ทั่วไป  สำหรับสายวิชาชีพครูคงเปิดสอนตามปกติ เปิดสอน กศ.บป.รุ่นที่ 3 ระดับ ค.บ.2 ปีหลัง 7 วิชาเอก  คือการศึกษาปฐมวัย การประถมศึกษา ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา คหกรรมศาสตร์ สุขศึกษา และพลศึกษา ระดับ ค.บ.2  ปีหลัง 7 วิชาเอก คือ การศึกษาปฐมวัย การบริหารการศึกษา สังคมศึกษา สุขศึกษา พลศึกษา คหกรรมศาสตร์ จิตวิทยาและการแนะแนว ระดับ อนุปริญญาวิทยาศาสตร์ 2 วิชาเอก คือ ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและสุขศึกษา ระดับ วท.บ.4 ปี 1 วิชาเอก คือ คหกรรมศาสตร์
  • พ.ศ. 2532    เปิดสอนระดับอนุปริญญาวิทยาศาสตร์เพิ่มอีก 1 วิชาเอก คือ เคมีปฏิบัติ
  • พ.ศ. 2533    เปิดสอนหลักสูตร วทบ.(หลังอนุปริญญา)  สาขาพืชศาสตร์
  • พ.ศ. 2534    เปิดสอนหลักสูตร วทบ.(หลังอนุปริญญา)  สาขาเทคโนโลยีการเกษตรภาคสมทบ
  • พ.ศ. 2534-37  เปิดสอนหลักสูตร วทบ.(หลังอนุปริญญา)  สาขาเกษตรศาสตร์
  • พ.ศ. 2535  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ  พระราชทานชื่อ “สถาบันราชภัฏ”  แก่วิทยาลัยครูทั่วประเทศ  ปิดสอนระดับ วท.บ.4 ปี  วิชาเอกวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร เป็นปีแรก  โดยในขณะนั้นมี รองศาสตราจารย์ธง รุญเจริญ ดำรงตำแหน่งอธิการบดี
  • พ.ศ. 2538    เปิดรับนักศึกษาภาคสมทบ (กศ.บป.)  โดยการสอบคัดเลือกเป็นนักศึกษาในโปรแกรมวิชาสิ่งแวดล้อม
  • พ.ศ. 2539    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี (ภาคสมทบ) โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม เป็นรุ่นแรก
  • พ.ศ. 2540    เปิดสอนหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี ภาคปกติ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และหลักสูตรปริญญาวิทยา ศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี ภาคสมทบ โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาเป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2542     เปิดสอนหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต 4 ปี ภาคปกติ โปรแกรมวิชาชีววิทยาประยุกต์ เป็นปีแรก
  • พ.ศ. 2543    มีการขยายศูนย์การศึกษานอกสถาบัน เปิดสอนระดับปริญญาตรี อนุปริญญา และปริญญาตรีหลังอนุปริญญาเพิ่มอีก 8 ศูนย์  โดยศูนย์ที่เปิดสอนสาขาวิทยาศาสตร์ คือ  ศูนย์พณิชยการสยาม เปิดสอนสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ศึกษา คอมพิวเตอร์ธุรกิจ สถิติประยุกต์ และบรรณารักศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
  • พ.ศ. 2544    เปิดสอนระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมแขนงวิชาการจัดการอุตสาหกรรม  ภาคสมทบ ในมหาวิทยาลัย
  • พ.ศ. 2546 เปิดสอนโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมอาหารและบริการ (วท.บ.) 4 ปี เป็นครั้งแรกพร้อมกับเปิดโรงเรียนการอาหารนานาชาติสวนดุสิต (Suan Dusit International Culinary School) เพื่อเป็นการสนับสนุนการเรียนการสอนของโปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมอาหารและบริการและอบรมบุคคลภายนอก
  • พ.ศ. 2547  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้า พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547  ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก ลงวันที่14  มิถุนายน พ.ศ. 2547  ทำให้สถาบันราชภัฏสวนดุสิต ยกฐานะเป็น “ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ” ในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2547  โดยในปีนี้เปิดสอนจำนวน 10 โปรแกรมวิชา
  • พ.ศ. 2549    เปิดรับนักศึกษาหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ  เป็นปีแรก  โดยเปิดรับนักศึกษาทั้งสิ้น 8โปรแกรมวิชา ได้แก่ โปรแกรมวิชาเคมี  โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม  โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร  โปรแกรมวิชาอุตสาหกรรมการอาหารและการบริการ  โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม   โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์  และโปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • พ.ศ. 2550  เปิดรับนักศึกษาใหม่ 5 หลักสูตรได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ  หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์  หลักสูตรวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม  หลักสูตรวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการอาหาร  หลักสูตรอุตสาหกรรมการอาหารและการบริการ
  • พ.ศ. 2551 เปิดการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวน  8 หลักสูตร ดังนี้ คือ หลักสูตรเคมี เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมอาหารและการบริการ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม คหกรรมศาสตร์ทั่วไป สถิติประยุกต์ รวมทั้งหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตอีก 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรพยาบาลศาสตร์ ซึ่งเปิดการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย  สำหรับหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์เปิดการเรียนการสอนในศูนย์รางน้ำ
  • พ.ศ. 2552 เปิดรับนักศึกษาการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวน  7 หลักสูตร ดังต่อไปนี้ หลักสูตรที่มีอยู่เดิม 4 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร อุตสาหกรรมอาหารและการบริการ และหลักสูตรที่เปิดขึ้นมาใหม่อีก 3 หลักสูตร คือ หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อม วิทยาการความปลอดภัย และวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ซึ่งนักศึกษาหลักสูตรทั้งหมดดังกล่าวต้องย้ายไปเรียนที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ถนนสิรินธร เยื้องห้างตั้งฮั่วเส็ง ยกเว้นหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เปิดการเรียนการสอนในศูนย์รางน้ำ และในมหาวิทยาลัย ตามลำดับ
  • พ.ศ. 2553 เปิดรับนักศึกษาการเรียนการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต จำนวน  7 หลักสูตร ดังต่อไปนี้คือ หลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร อุตสาหกรรมอาหารและการบริการ หลักสูตรการจัดการสิ่งแวดล้อมเมืองและอุตสาหกรรม วิทยาการความปลอดภัย และวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ซึ่งนักศึกษาหลักสูตรทั้งหมดดังกล่าวต้องย้ายไปเรียนที่อาคารเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ ศูนย์วิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต ถนนสิรินธร ยกเว้นหลักสูตรวิทยาการคอมพิวเตอร์ และหลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่เปิดการเรียนการสอนในศูนย์รางน้ำ และในมหาวิทยาลัย ตามลำดับ
Translate »